วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

เม็ดโลหิตแดง ( erythrocyte หรือ red blood cell )

วันที่ ๑๙ เดือน มกราคม  พ . ศ. ๒๕๕๙
ที่มา : พูนศักดิ์   ประถมบุตร   กายวิภาคและสรีรวิทยา  พิมพ์ครั้งที่ ๒  สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์                            หน้า ๖๒ - ๗๑


เรื่อง เม็ดโลหิตแดง ( erythrocyte หรือ red blood cell )


                    เม็ดโลหิตแดง ( erythrocyte หรือ red blood cell )

               ลักษณะ เม็ดโลหิตแดงเป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส  มองด้านบนเป็นรูปกลม  มองด้านตรงกลางเว้าเข้าหากัน (biconcave) การเว้าทำให้ก๊าซซึมเข้าเม็ดโลหิตได้ง่าย  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  ๗.๒  ไมครอน  ( ๑ ไมครอน  = ๐.๐๐๑ มม. )

               จำนวนโดยปกติผู้ชายจะมีเม็ดโลหิตแดงประมาณ  ๕  ล้านเซลล์  ต่อ ๑ ลบ.มม.  ของโลหิต  ผู้หญิงมีประมาณ  ๔.๕ ล้านเซลล์  ต่อ ๑ ลบ.มม.

               หน้าที่   ช่วยขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปสู่เยื่อต่างๆ  โดยการรวมตัวกับฮีโมโกลบิน ( heamoglbin หรือ Hb ) ในเม็ดโลหิตแดงเป็นออกซีฮีโมโกลบิน  ( oxyhamoglobin )  และ ช่วยลำเลียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จากเนื้อเยื่อกลับไปยังปอด  นอกจากนี้ Hb  ยังช่วยในการรักษาความเป็นกรดด่างของโลหิตอีกด้วย

               ( ฮีโมโกลบิน  ประกอบด้วย   heme  =  โลหิตประมาณ  ๔ %  ซึ่งประกอบด้วยเหล็ก  และ globin สารโปรตีนประมาณ ๙๖ % )

               ในโลหิตปกติจะมีฮีโมโกลบินประมาณ  ๑๕ กรัมต่อโลหิต  ๑๐๐ มล.  ฮีโมโกลบิน  ๑  กรัม  สามารถจับออกซิเจนได้  ๑.๓๔  มล.  ดังนั้นโลหิต ๑๐๐ มล.  สามารถจับออกซิเจนได้ประมาณ  ๒๐  มล.  หรือร้อยละ  ๒๐  โดยปริมาตร

               การส้รางเม็ดโลหิตแดง  เม็ดโลหิตแดงถูกสร้างขึ้นที่ไขกระดูก ( Bone marrow )  มีอายุประมาณ  ๑๒๐  วัน  จึงถูกทำลายที่ตับและม้าม

                    การผิดปกติที่เกี่ยวกับเม็ดโลหิตแดง

               โลหิตจาง ( anemia )  เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก  หรือมีเม็ดโลหิตแดงน้อย  (ฮีมาโตคริดต่ำ)  โดยอาจเกิดจากการสูญเสียโลหิต  หรือเป็นโรคพยาธิ  นอกจากเหล็กแล้ว  วิตามินบี ๑๒  ก็มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดโลหิตแดง
               เม็ดโลหิตแดง ( haemolysis ) สาเหตุเนื่องจากเชื้อมาลาเลียและแบคทีเรียบางชนิด  เช่น  สเตรพโตคอคซิ  สตาฟิโลคอคซิ  หรือการได้รับสารเคมีพวกตะกั่ว  สารหนู  ละพิษงู  จากยาบางชนิด  ซัลฟามาไมด์  และอมิโตไพริน  เป็นต้น
                นอกจากนี้เม็ดโลหิตแดงอาจถูกกัน ( block ) ไม่ให้สามารถจับออกซิเจนได้  โดยก๊าซคาร์บอนมอน็อกไซด์ ( co )  โดยที่ฮีโมโกลบินจับคาร์บอนมอนน็อกไซด์ดีกว่า  ออกซิเจนทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน  และทำให้ถึงเสียชีวิต
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น