ที่มา : ชมรมบ้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์น่ารู้ บริษัท ไทยร่มเกล้า จำกัด หน้า ๖๒ - ๗๑
เรื่อง สารนับล้านเกิดจากธาตุไม่กี่ชนิดได้อย่างไร
ธาตุที่เสถียรอยู่ตามธรรมชาติมีเพียง ๙๒ ธาตุเท่านั้น ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะค้นพบมากกว่า ๑๐๗ ธาตุ แต่มีเพียง ๑๕ ธาตุที่ต้องสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลองเพราะเป็นธาตุไม่เสถียรเมื่ออยู่ตามธรรมชาติ
สารต่างๆ ในจักรวาลเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมของธาตุ ๙๒ ธาตุ ในสัดส่วนที่ต่างกันธาตุที่สำคัญ เช่น เหล็ก ทอง เงิน ทองแดง อะลูมิเนียม โซเดียม โพแทสเซียม ออกซิเจน ไนโตรเจน คลอรีน คาร์บอน กำมะถัน เป็นต้น ซึ่งธาตุเหล่านี้ทำให้เกิดสารรูปแบบต่างๆ นับไม่ถ้วน เช่น อะตอมของไฮโดรเจน ๒ อะตอม กับอะตอมของออกซิเจน ๑ อะตอม จะได้โมเลกุล ของน้ำ ๑ โมเลกุล และอะตอมของโซเดียม ๑ อะตอม รวมกับอะตอมของคลอรีน ๑ อะตอมก็จะได้โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือ ๑ โมเลกุล
อะตอมของธาตุต่างๆ จะรวมกันได้ ๒ แบบ แบบแรกอะตอมประกอบด้วยขั้วบอกที่มีนิวเคลียสอยู่ส่วนกลางและมีอิเล็กตรอนซึ่งเป็นขั้วลบวิ่งรอบนิวเคลียส เมื่ออะตอมของธาตุมารวมกัน อะตอมของธาตุหนึ่งจะให้อิเล็กตรอนเพื่อสร้างพันธะระหว่างอะตอมทำให้เกิดเป็นสารใหม่ แบบที่ ๒ คือ อะตอมจะสร้างพันธะโดยการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งทั้ง ๒ แบบ มีการรวมกันเฉพาะอิเล็กตรอนวงนอกสุด เช่น ในการเกิดเกลือ อิเล็กตรอนของโซเดียมจะให้อิเล็กตรอนแก่อะตอมของคลอรีน การให้อิเล็กตรอนทำให้โซเดียมเป็นไอออนบวกและอะตอมของคลอรีนเป็นไอออนลบ ซึ่งจะเกิดแรงกระทำทางไฟฟ้าระหว่าง ๒ ไอออนนี้ แรงดึงดูดนี้จะเชื่อมอะตอมทั้งสองไว้ด้วยกันและเกิดโมเลกุลของเกลือ เช่นเดียวกับการเกิดน้ำ อะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนจะมีอิเล็กตรอนที่ใช้รวมกันโดยแรงดึงดูดนี้
นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ ดิมิทรี เมนเดเลเอฟ ได้แบ่งธตุออกเป็นกลุ่มและได้พิมพ์ตารางธาตุเพื่อแสดงธาตุทั้งหมดเป็นกลุ่มตามลำดับในปี ค.ศ. ๑๙๘๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น