ที่มา : อำนาจ เจริญศิลป์ การ์ตูนวิทยาศาสตร์ บริษัท สำนักพิมพ์บรรณกิจ ๑๙๙๑ จำกัด
หน้า ๒๙- ๓๘
เรื่อง เบซาล เมตาโบลิซึม คืออะไร ?
เบซาล เมตาโบลิซึม คืออะไร ?
เบซาล เมตาโบลิซึม (basal metabolism) คือ ปริมาณความร้อนที่ออกมาจากร่างกาย ซึ่งวัดเป็นคาลอรี่ใหญ่ต่อนาที และต้องวัดในขณะที่ร่างกายกำลังพักผ่อน ทั้งก่อนรับประทานอาหารด้วย มิฉะนั้นออกซิเจนที่ได้จากการหายใจอย่างแรงและที่ใช้ในการย่อยอาหาร จะทำให้ปริมาณความร้อนเพิ่มขึ้นในทางปฏิบัติ เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องมือวัดคาลอรี่จากลมหายใจ ซึ่งวัดจำนวนออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไปหนึ่งหน่วยเวลา แล้วเปลี่ยนมาเป็นหน่วยคาลอรี่ใหญ่ต่อนาที อีกทีหนึ่ง
ถ้าเราเป็นคนช่างสังเกต เราจะรู้สึกว่าห้องที่เรานั่งหรือเดินอยู่นั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งคนมากขึ้นยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย คนเดินช้าๆ ในห้องจะให้ความร้อนได้ประมาณ ๒๐๐ คาลอรี่ใหญ่ (๒๐๐ กิโลคาลอรี่) ต่อชั่วโมง หรือ ๘๐๐ ปอนด์องศาฟาเรนไฮต์ต่อชั่วโมง นับว่าเป็นปริมาณความร้อนที่ค่อนข้างสูงทีเดียว แม้ในวันที่มีอากาศหนาวที่สุด ถ้าเราใช้คน ๑๒ - ๑๓ คน เดินรอบๆห้อง อาจจะทำให้ห้องนั้นอุ่นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องทำความร้อน จึงมีปัญหาเกิดขึ้นว่า ความร้อนเหล่านี้มาจากไหน
ความร้อนเหล่านี้มาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การทำงานของตับ ไต การเต้นของหัวใจ การหายใจตามปกติ สิ่งเหล่านี้จะต้องดำเนินไปอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง การทำงานเหล่านี้ต้องการพลังงาน พลังงานนี้เกิดขึ้นได้ในร่างกาย โดยปฏิกิริยาของออกซิเจนที่หายใจเข้าไปกับอาหารที่เรารับประทาน ผลสุดท้ายของปฏิกิริยาจะให้ความร้อนออกมา วีธีการแบบนี้เรียกว่า เมตาโบลิซึม (metaboism)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น