วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชิวิต

วันที่ ๒๖ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : จิรัลย์  เจนพาณิชย์  ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
          พิมพ์ครั้งที่ ๘  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา  หน้า ๔๕ - ๕๔

เรื่อง โปรตีน

   โปรตีนประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N เป็นองค์ประกอบหลัก เป็น polymer ของกรดอะมิโน (amino acid) ถ้าขาดโปรตีนแล้วจะทำให้เป็นโรคตานขโมย 
   กรดอะมิโนที่ควรรู้จัก 
๑. เมื่อ R เป็นอะตอมไฮโดรเจน จะได้ glycine เป็นกรดอะมิโนที่เล็กที่สุด
๒. ถ้า R มีกำมะถัน (S) อาจจะเป็น methionine หรือ cysteine
๓. กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ในผู้ใหญ่ ๘ ตัวคือ tryptophan, phenylalanine, threonine, methionine, valine, leucine, lysine, isoleucine : ทริฟ ฟี่ ทรี เม็ด เว ลิว ไล ไอ
๔. histidine และ arginine เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นเฉพาะในเล็ก
๕. glutamic acid และ aspartic acid ที่ R มี -COOH จึงมีชื่อเป็นกรด

เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

วันที่ ๒๖ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : จิรัลย์  เจนพาณิชย์  ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
          พิมพ์ครั้งที่ ๘  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา  หน้า ๔๕ - ๕๔

เรื่อง สารอาหาร

   สารอาหาร คือ สารเคมีองค์ประกอบในอาหารที่มีประโยชน์ต่อเรา มี ๖ ชนิด คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และ น้ำ
- แบ่งเป็นสารอินทรีย์ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน กับสารอินทรีย์ คือ เกลือแร่ น้ำ
- แบ่งเป็นสารให้พลังงาน คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน กับไม่ให้พลังงาน คือ วิตามิน เกลือแร่ น้ำ
- ลำดับในการใช้พลังงานเรียงจากก่อนไปหลัง คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ โปรตีน
- โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานเท่ากัน คือ 4 kcal/กรัม ส่วนไขมันให้พลังงาน 9 kcal/กรัม

ไวรัสและไวรอยด์

วันที่ ๒๖ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : จิรัลย์  เจนพาณิชย์  ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
          พิมพ์ครั้งที่ ๘  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา  หน้า ๓๖ - ๔๕

เรื่อง ไวรัสและไวรอยด์

   ไม่เป็นเซลล์ คือไวรัสเป็นแค่โปรตีน (capsid) ห่อหุ้มสารพันธุกรรมเอาไว้ ซึ่งอาจจะเป็น DNA หรือ RNA ก็ได้ ส่วนไวรอยด์เป็นแค่ก้อน RNA เท่านั้น ดำรงชีวิตด้วยการเป็นปรสิตในเซลล์โฮสต์ (obligate intracellular parasite) คือจะเพิ่มจำนวนตัวเองได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปในเซลล์คนอื่นเขา แล้วเอาวัตถุดิบในเซลล์เขามาใช้
   ไวรัสเป็นปรสิตทั้งในคน สัตว์ พืช หรือแม้แต่แบคทีเรีย (เรียก bacteriophage หรือ phage) ทำให้เกิดโรคในคน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โปลิโอ ซิคุนกุนยา ตับอักเสบ ปอดบวม พิษสุนัขบ้า งูสวัด เริม ไข้เลือดออก ไข้เหลือง ไข้ทรพิษ หัด หัดเยอรมัน คางทูม เอดส์ ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ไข้หวัด SARS หรือ โรคในพืช เช่น ใบด่างของยาสูบและถั่วลิสง ใบหงิกของพริก ส่วนไวรอยด์นั้นเป็นปรสิตในพืช

การแบ่งเซลล์

วันที่ ๒๖ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : จิรัลย์  เจนพาณิชย์  ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
          พิมพ์ครั้งที่ ๘  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา  หน้า ๒๖ - ๓๕

เรื่อง การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์ (cell division) เป็นกระบวนการหนึ่งของการเจริญเติบโต และการขยายขนาดของสิ่งมีชีวิตผลที่ได้จะเพิ่มอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวต่อปริมาตรเซลล์ ทำให้ลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ได้สะดวกขึ้น ใน eukaryotic cell ประกอบด้วย ๒ ขั้นตอนหลัก คือการแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) และการแบ่ง cytoplasm (cytokinesis) ส่วนใน prokaryotic cell การแบ่งเซลล์ไม่ใช้ิcentriole หรือ spindle fiber

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

วันที่ ๒๒ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : จิรัลย์  เจนพาณิชย์  ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
          พิมพ์ครั้งที่ ๘  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา  หน้า ๑๔ - ๒๕

เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

ทฤษฎีเซลล์(cell theory) เสนอโดยชวันน์และชไลเดน มีใจความว่า "สิ่งมีชีวิตทั้งหลายย่อมประกอบไปด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบ (นั่นคือมี organization)"
 - ไม่พบในเซลล์สัตว์ choroplast, central vacuole, cell wall, tonoplast
 - ไม่พบในเซลล์พืช lysosome, centriole
 - ไม่พบในแบคทีเรีย nucleus, cytoskeleton, centriole, organelle ที่มีเยื่อหุ้มทั้งหมด

กล้องจุลทรรศน์

วันที่ ๒๒ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : จิรัลย์  เจนพาณิชย์  ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
          พิมพ์ครั้งที่ ๘  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา  หน้า ๑ - ๑๓

เรื่อง กล้องจุลทรรศน์

การจำแนกกล้องจุลทรรศน์
๑. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light microscope) ใช้แสงขาว (visible light) + เลนส์แก้ว มีอากาศในลำกล้อง ได้ภาพเสมือนหัวกลับ ส่องได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กำลังขยายต่ำกว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน คือมากสุดที่ ๑,๐๐๐ เท่า แยกจุดสองจุดที่ห่างกันน้อยที่สุด ๐.๒ ไมโครเมตร
      ๑.๑  ใช้แสงแบบธรรมดา (compound light microscope) คือที่อยู่ในห้องแล็บทั่วไป เหมาะสำหรับศึกษาโครงสร้างง่ายๆ เช่น ส่องดู chloroplast ของเซลล์สาหร่ายหางกระรอก, เซลล์คุมของใบว่านกาบหอย
      ๑.๒  ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope) ส่องได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและทึบแสง มองเห็นภาพเป็น ๓ มิติ มีความชัดลึกมากเหมาะสำหรับส่องดูวัตถุที่ตาเปล่ามองเห็นแต่อยากรู้รายละเอียด เช่น ละอองเกสรดอกไม้, eye spot ของพลานาเรีย
๒. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ใช้ลำแสงอิเล็กตรอน + เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า ไม่มีอากาศในลำกล้อง ได้ภาพฉายปรากฏบนจอ ส่องได้เฉพาะสิ่งไม่มีชีวิต กำลังขยายสูงกว่ามาก แยกจุดสองจุดที่ห่างกันน้อยที่สุด ๐.๑ - ๒ ไมโครเมตร 
      ๒.๑  แบบส่องกราด (scanning electron microscope: SEM) ใช้ศึกษาโครงสร้าง 3 มิติ
      ๒.๒  แบบส่องผ่าน (transmission electron microscope: TEM) ใช้ศึกษาโครงสร้าง ๒ มิติ

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นาฬิกา ประดิษฐกรรมเพื่อความเที่ยงตรง

วันที่ ๑๙ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ปิยวรรณ ปนิทานเต  วิวัฒนาการของสิ่งปรดิษฐ์  
          พิมพ์ครั้งที่ ๑  โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์  หน้า ๒๒ - ๔๐

เรื่อง นาฬิกา ประดิษฐกรรมเพื่อความเที่ยงตรง

มนุษย์รู้ว่าเวลาคือสิ่งที่มีค่ามาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการคิดค้นวิธีบอกเวลา ซึ่งในระยะแรกมักอาศัยจังหวะการเคลื่อนที่ของธรรมชาติ เช่น การขึ้นและตกของพระอาทิตย์ในแต่ละวัน ลักษณะเศษเสี้ยวของดวงจันทร์หรือจากตำแหน่งดวงดาวบนฟากฟ้ายามค่ำคืน มนุษย์สังเกตเห็นการเปลี่ยงแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอนี้ จึงนำมาใช้บอกเวลาสำหรับวางแผนการอพยพเคลื่อนย้ายหาที่อยู่ใหม่หรือเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก ต่อมาชีวิตในแต่ละวันเริ่มเต็มไปด้วยกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เวลาในแต่ละวันจึงถูกแบ่งและกำหนดให้มีความเที่ยงตรงมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบอกเวลา โดยในระยะแรกเครื่องมือที่ว่านี้ยังไม่มีกลไกสลับซับซ้อน และยังคงอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น นาฬิกาแดด (sundial) นาฬิกาเทียน นาฬิกาทราย (hourglass) รวมถึงนาฬิกาน้ำ ต่อมาเมื่อมีการใส่กลไกเข้าไป เราจึงมีเครื่องบอกเวลาที่สามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ข้อคิดที่ได้
ได้เห็นว่านาฬิกาได้รับการพัฒนาให้เป็นเครื่องบอกเวลาที่มีความเที่ยงตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ทุกวันนี้นอกจากเราจะใช้นาฬิกาในการบอกเวลาแล้ว เรายังใช้นาฬิกาเป็นเครื่องประดับที่บ่งบอกรสนิยมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย


ปรัชญาการศึกษาของไทย

วันที่  ๑๙  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)  ปรัชญาการศึกษาของไทย  
          พิมพ์ครั้งที่ ๑  หน้า ๘ - ๒๑

             เรื่อง ข้อพิจารณาเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องปรัชญาการศึกษาไทย(มองจากแง่ของพุทธธรรม)

ชีวิตที่ขาดการเรียนรู้และการฝึกฝนอบรม ย่อมเป็นชีวิตที่หย่อนสมรรถภาพและไร้ประสิทธิภาพ ทั้งในการควบคุมรักษาหล่อเลี้ยงองค์ประกอบภายในของตนเอง และในการเกี่ยวข้องกับสิ่งแววล้อม ส่วนชีวิตที่มีการศึกษา ย่อมมีสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการปรับตัวและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จนถึงขนาดที่สามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์แก่ตัวมันได้สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ต่อเมื่อบุคคลอื่นๆทุกคน ได้รับการศึกษาดีด้วย ดังนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ช่วยคนอื่นๆ ที่ยังขาดการศึกษาให้ได้รับการศึกษา คนที่ขาดการศึกษานั้น พูดในวงกว้างที่เป็นจำนวนใหญ่ที่สุด ก็คือคนรุ่นใหม่ แม้ว่าตัวการศึกษาที่แท้จะเป็นเรื่องของบุคคล แต่สังคมก็ยังสามารถจัดปัจจัยต่างๆ เพื่ออำนวยให้การศึกษาเกิดขึ้นแก่บุคคลได้ การจัดปัจจัยต่างๆเพื่ออำนวยให้การศึกษาเกิดขึ้นแก่บุคคลนี้เอง เรียกว่า การให้การศึกษา เป็นการทำการถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีตที่รับสืบทอดต่อๆ กันมาของคนรุ่นเก่าให้แก่คนรุ่นใหม่ของสังคมให้เป็นผู้มีการศึกษาต่อไป

ข้อคิดที่ได้
เน้นสาระสำคัญให้เห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องของชีวิตและทำเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตนั่นเอง ชีวิตมีจุดมุ่งหมายอย่างไร การศึกษาก็เพื่อให้ถึงจุดหมายอย่างนั้น หมายความว่า จุดหมายของการศึกษาเป็นสิ่งเดียวกับจุดหมายของชีวิต