วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นาฬิกา ประดิษฐกรรมเพื่อความเที่ยงตรง

วันที่ ๑๙ เดือน พฤศจิกายน   พ .ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ปิยวรรณ ปนิทานเต  วิวัฒนาการของสิ่งปรดิษฐ์  
          พิมพ์ครั้งที่ ๑  โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์  หน้า ๒๒ - ๔๐

เรื่อง นาฬิกา ประดิษฐกรรมเพื่อความเที่ยงตรง

มนุษย์รู้ว่าเวลาคือสิ่งที่มีค่ามาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการคิดค้นวิธีบอกเวลา ซึ่งในระยะแรกมักอาศัยจังหวะการเคลื่อนที่ของธรรมชาติ เช่น การขึ้นและตกของพระอาทิตย์ในแต่ละวัน ลักษณะเศษเสี้ยวของดวงจันทร์หรือจากตำแหน่งดวงดาวบนฟากฟ้ายามค่ำคืน มนุษย์สังเกตเห็นการเปลี่ยงแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอนี้ จึงนำมาใช้บอกเวลาสำหรับวางแผนการอพยพเคลื่อนย้ายหาที่อยู่ใหม่หรือเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก ต่อมาชีวิตในแต่ละวันเริ่มเต็มไปด้วยกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เวลาในแต่ละวันจึงถูกแบ่งและกำหนดให้มีความเที่ยงตรงมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบอกเวลา โดยในระยะแรกเครื่องมือที่ว่านี้ยังไม่มีกลไกสลับซับซ้อน และยังคงอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น นาฬิกาแดด (sundial) นาฬิกาเทียน นาฬิกาทราย (hourglass) รวมถึงนาฬิกาน้ำ ต่อมาเมื่อมีการใส่กลไกเข้าไป เราจึงมีเครื่องบอกเวลาที่สามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ข้อคิดที่ได้
ได้เห็นว่านาฬิกาได้รับการพัฒนาให้เป็นเครื่องบอกเวลาที่มีความเที่ยงตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ทุกวันนี้นอกจากเราจะใช้นาฬิกาในการบอกเวลาแล้ว เรายังใช้นาฬิกาเป็นเครื่องประดับที่บ่งบอกรสนิยมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น