วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปรัชญาการศึกษาของไทย

วันที่  ๑๙  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)  ปรัชญาการศึกษาของไทย  
          พิมพ์ครั้งที่ ๑  หน้า ๘ - ๒๑

             เรื่อง ข้อพิจารณาเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องปรัชญาการศึกษาไทย(มองจากแง่ของพุทธธรรม)

ชีวิตที่ขาดการเรียนรู้และการฝึกฝนอบรม ย่อมเป็นชีวิตที่หย่อนสมรรถภาพและไร้ประสิทธิภาพ ทั้งในการควบคุมรักษาหล่อเลี้ยงองค์ประกอบภายในของตนเอง และในการเกี่ยวข้องกับสิ่งแววล้อม ส่วนชีวิตที่มีการศึกษา ย่อมมีสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการปรับตัวและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จนถึงขนาดที่สามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์แก่ตัวมันได้สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ต่อเมื่อบุคคลอื่นๆทุกคน ได้รับการศึกษาดีด้วย ดังนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ช่วยคนอื่นๆ ที่ยังขาดการศึกษาให้ได้รับการศึกษา คนที่ขาดการศึกษานั้น พูดในวงกว้างที่เป็นจำนวนใหญ่ที่สุด ก็คือคนรุ่นใหม่ แม้ว่าตัวการศึกษาที่แท้จะเป็นเรื่องของบุคคล แต่สังคมก็ยังสามารถจัดปัจจัยต่างๆ เพื่ออำนวยให้การศึกษาเกิดขึ้นแก่บุคคลได้ การจัดปัจจัยต่างๆเพื่ออำนวยให้การศึกษาเกิดขึ้นแก่บุคคลนี้เอง เรียกว่า การให้การศึกษา เป็นการทำการถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีตที่รับสืบทอดต่อๆ กันมาของคนรุ่นเก่าให้แก่คนรุ่นใหม่ของสังคมให้เป็นผู้มีการศึกษาต่อไป

ข้อคิดที่ได้
เน้นสาระสำคัญให้เห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องของชีวิตและทำเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตนั่นเอง ชีวิตมีจุดมุ่งหมายอย่างไร การศึกษาก็เพื่อให้ถึงจุดหมายอย่างนั้น หมายความว่า จุดหมายของการศึกษาเป็นสิ่งเดียวกับจุดหมายของชีวิต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น