วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การเคลื่อนที่ในแนวตรง

วันที่ ๓๑ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ช่วง  ทมทิตชงค์ คู่มือเตรียมสอบ ฟิสิกส์ ม.๔ - ๖ เล่ม ๑  บริษัท ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด
           หน้า ๔๓ - ๕๒


เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง


เวกเตอร์และสเกลาร์ (Vectors and Scalars)
          ปริมาณบางอย่างเมื่อบอกเฉพาะขนาดจะเข้าใจได้  เช่น  มวล ความยาว เวลา ความหนาแน่น พลังงาน และอุณหภูมิ, ปริมาณพวกนี้  เราอาจจะรวมกันทางพีชคณิตได้ (แต่ต้องให้เป็นชนิดเดียวกัน) ปริมาณใดๆก็ตามที่บอกแต่ขนาดเพียงอย่างเดียวก็มีความหมายชัดเจน  เราเรียกว่า  "ปริมาณสเกลาร์" (Scalar Quantity)
          ปริมาณอีกแบบหนึ่งที่เราต้องบอกทั้ง  ขนาด  และ  ทิดทาง  จึงจะมีความหมายสมบูรณ์  เช่น  การกระจัด  แรง  ความเร็ว  ความเร่ง, โมเมนตัม, สนามไฟฟ้า ปริมาณพวกนี้จัดเป็น  "ปริมาณเวกเตอร์" (Vector Quantity)


เวกเตอร์ในระบบสองมิติ
          การคิดเวกเตอร์ช่วยให้เราเข้าใจวิชาของฟิสิกส์ได้ดี  ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวถึงเวกเตอร์ไว้ในบทนี้  โดยกล่าวเกี่ยวกับเวกเตอร์พื้นฐานหรือเวกเตอร์หนึ่งหน่วย, เวกเตอร์เท่ากันและเวกเตอร์ตรงกันข้าม  ตลอดจนการกระทำของเวกเตอร์เกี่ยวกับการบวกเวกเตอร์  ๒  อัน  และการลบเวกเตอร์ซึ่งเป็นสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของเวกเตอร์  และเนื่องจากเวกเตอร์มีส่วนประกอบตามแนวแกนของระบบพิกัด  โดยเฉพาะในเบื้องต้นนี้คือระบบพิกัดฉาก  จะช่วยให้เราศึกษาเวกเตอร์ได้ง่ายขึ้น  จึงได้กล่าวเกี่ยวกับส่วนประกอบของเวกเตอร์ในระบบของแกน


ปริมาณเวกเตอร์และปริมาณสเกลาร์
          ปริมาณหรือจำนวนมี ๒ ประเภท
๑.  ปริมาณเวกเตอร์ (Vector Quantity)  คือ  ปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง  จึงจะได้ความหมายชัดเจน  เช่น  แรง  น้ำหนัก  ความเร็ว  ความเร่ง  โมเมนตัม  การกระจัด
๒.  ปริมาณสเกลาร์ (Scalar Quantity)  คือ  ปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียวก็เข้าใจได้ความหมายชัดเจน   เช่น  มวลสาร  พื้นที่  ปริมาตร  ความหนาแน่น  เป็นต้น

การวัดและการแปลความหมายของข้อมูล

วันที่ ๓๑ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ช่วง  ทมทิตชงค์ คู่มือเตรียมสอบ ฟิสิกส์ ม.๔ - ๖ เล่ม ๑  บริษัท ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด
           หน้า ๑ - ๑๐

เรื่อง การวัดและการแปลความหมายของข้อมูล


การวัดและการแปลความหมายของข้อมูล
   -  คนเราทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการวัดตลอดเวลา เช่น การัดเวลา (ในการตื่นนอน และการเดินทาง)

  • งานเก็บข้อมูลวิทยาศาสตร์
งานเก็บข้อมูลวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณา
๑. มาตราฐานของเครื่องวัด จะต้องมีมาตราฐานที่ยอมรับกันได้ทั่วไป
๒. เครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาพงานที่จะวัด เช่น ในเตาเผาจานกระเบื้อง ซึ่งอุณภูมิสูงมากจะใช้เทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาวัดอุณหภูมิไม่ได้ ต้องวัดด้วย "ไพโรมิเตอร์" (Pyromete)

  • การแสดงผลการวัด
๑. แสดงด้วยขีดสเกล  เช่น  โวลต์มิเตอร์ทั่วไป  จะมีตัวเลขหลายชุดบนหน้าปัดเียวกันผู้วัดต้องเข้าใจในการเลือกใช้ตัวเลขแต่ละชุด (ซึ่งจะไม่ท่ากัน)
๒. แสดงด้วยตัวเลข แบบนี้จะสะดวกและรวดเร็ว  เพราะอ่านได้ง่ายกว่า

  • การอ่านผลจากเครื่องมือวัด
๑. ต้องอ่านให้ถึงค่าที่ละเอียดที่สุดที่อ่านได้จากสเกล  เช่น  การวัดความกว้างของหนังสือด้วยไม้บรรทัดธรรมดา  จะวัดได้ ๘.๓ เซนติเมตร
๒. ต้องอ่านส่วนที่ประมาณด้วยสวยตาอีก ๑ ตำแหน่ง  เช่น  ความยาวหนังสือในข้อ (๑) มีเศษเกินขีด ๓ มิลลิเมตร ถึงประมาณกลางช่อง เราจะต้องอ่านค่าที่วัดได้เป็น ๘.๓๕

  • การเลือกใช้เครื่องมือวัด
การเลือกใช้เครื่องมือวัดต้องพิจารณาจากสิ่งที่จะวัด  เช่น  วัดความยาวของดินสอหรือแท่งโลหะ  สำหรับงานช่างกลึง ความละเอียดที่ต้องการใช้จะไม่เท่ากัน
๑. งานธรรมดาทั่วไป โดยปกติจะละเอียดถึง ๑ มิลลิเมตร จะวัดด้วยไม้บรรทัดธรรมดา
๒. งานเจียระไน  ปกติจะละเอียดถึง ๐.๑ มิลลิเมตร จะต้องวัดด้วยเวอร์เนียร์
๓. งานกลึงที่ละเอียด จะวัดถึง ๐.๐๑ มิลลิเมตร ต้องใช้ไมโครมิเตอร์

สิ่งที่มีผลต่อความถูกต้องและความผิดพลาดในการวัด
          ๑.  เครื่องมือที่ใช้วัด   จะต้องได้มาตราฐานและเที่ยงตรง  จึงจะวัดได้ถูกต้อง
          ๒.  วิธีการวัด   จะต้องไม่มีผลที่จะไปรบกวนระบบเดิม  คือ  ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงปริมาณที่จะวัด เช่น จะวัดกระแสไฟฟ้าในวงจร  ต้องใช้แแอมมิเตอร์ที่มีความต้านทานต่ำ (ถ้าแอมมิเตอร์มีความต้านทานสูง จะไปเพิ่มความต้านทานในวงจร ทำให้กระแสไฟฟ้าที่จะวัดลดลง  ซึ่งไม่ตรงกับกระแสไฟฟ้าที่ต้องการจะวัด)
          ๓.  ผู้ทำการวัด   ต้องเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการวัด  เช่น  การวัดความดันโลหิต  จะวัดได้ค่อนข้างยาก  และเครื่องมือแต่ละชนิดจะมีการวัดที่แตกต่างกันออกไป  นอกจากนั้นในการทำการวัดจะต้องมีความรอบคอบ  และร่างกายมีสภาพพร้อมจึงจะได้ผลดี
          ๔.  สภาพแวดล้อมขณะทำการวัด   เช่น  การทดลองวัดความสว่างของหลอดไฟดวงหนึ่ง  จะต้องไม่มีแสงสว่างจากแหล่งอื่นมาเกี่ยวข้อง  เพราะจะทำให้เกิดความผิดพลาด
  • การบันทึกข้อมูล
   การบันทึกข้อมูล ปกติจะสังเกตหลายๆ ครั้ง และบันทึกไว้เป็นตาราง เพราะจะนำมาวิเคราะห์ แปลความหมายได้ง่าย
  • การนำเสนอข้อมูล
   การนำเสนอข้อมูลจะทำให้เกิดการเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจน ปกติจะเสนอเป็น
ก. แผนภูมิแท่ง          ข. แผนภูมิวงกลม          ค. แผนภูมิเส้นตรงหรือเส้นกราฟ

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Unnecessary articles

วันที่ ๒๙ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : นัชชา  วิริยะจำนงค์ Do and Don' t ภาษาอังกฤษ อย่าใช้ผิดเชียวนะ บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด
           หน้า ๒๓ - ๓๓

เรื่อง Unnecessary articles

  • การใช้ the กับ Proper noun ผิด 

ผิด  :  The Mark will go to Finland.
ถูก  :  Mark will go to Finland.
          มาร์คจะไปประเทศฟินแลนด์

อธิบาย
   the จะต้องใช้นำ Proper noun เหล่านี้ คือ
๑. แม่น้ำ (river)
๒. ทะเล (Sea)
๓. มหาสมุทร (Ocean)
๔. อ่าวเล็กๆ (bay)
๕. อ่าวขนาดใหญ่ (gulf)
๖. ทิวเขา (mountain range)
๗. หมู่เกาะ (group of islands)
๘. ประเทศหรือจังหวัด (county or province)

  • การใช้ the กับ abstract noun ผิด
ผิด  :  The honesty is a great virtue.
ถูก  :  Honesty is a great virtue.
          ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมอันพิเศษ

อธิบาย
   abstract noun ทุกคำ เมื่อกล่าวทั่วๆ ไปไม่ต้องใช้ article นำ แต่ถ้าเป็นการชี้เฉพาะจะต้องมี article นำเสมอ เช่น
     The honesty of the Hobbits ws renowed.
      ความซื่อสัตย์ของพวกฮอบบิทเป็นที่โด่งดัง

  • การใช้ the กับ Material nouns ผิด
ผิด  :  The amber is a precious stone.
ถูก  :  Amber is a precious stone.
          อำพันเป็นหินที่มีค่า

อธิบาย
   การกล่าวถึง material nouns โดยทั่วๆไป ไม่ต้องมี article นำ แต่ถ้าชี้เฉพาะว่าอำพันที่ไหน  จะต้องมี article นำ  เช่น
      The amber of Thailand is exported to many countries.
       อำพันของประเทศไทยถูกส่งออกในหลายประเทศ

  • การใช้ the กับนามพหูพจน์ ที่กล่าวโดยทั่วๆไป ผิด
ผิด  :  The tigers are fierce animals.
ถูก  :  Tigers are fierce animals.
           เสือเป็นสัตว์ที่ดุร้าย

อธิบาย
   ใช้ the นำหน้า tigers ไม่ได้เพราะมีหลักอยู่ว่า นามพหูพจน์จะมี article นำไม่ได้  เมื่อกล่าวถึงโดยทั่วๆไป  เว้นแต่จะชี้เฉพาะว่าเสือพวกไหน  ที่ไหน  จึ้งจะใช้ the นำ

Prepositions often confused

วันที่ ๒๙ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : นัชชา  วิริยะจำนงค์ Do and Don' t ภาษาอังกฤษ อย่าใช้ผิดเชียวนะ บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด
           หน้า ๗ - ๑๕

เรื่อง Prepositions often confused

               การใช้ Preposition ต้องระมัดระวังให้มากมิฉะนั้นจะสับสน  ผิดพลาดได้ง่าย  ในที่นี้กล่าวถึง  Preposition  ที่ใช้กันบ่อยๆ โปรดสังเกตและใช้ให้ถูก

  • To and At
                 ( a. ) To
            ผิด  :  Will came at school every morning.
            ถูก  :  Will came to school every morning.
                       วิลมาโรงเรียนทุกๆเช้า

                 ( b. ) At
            ผิด  :  Bridget is standing to the door.
            ถูก  :  Bridget is standing at the door.
                      บริดเจ็ตยืนอยู่ที่ประตู

อธิบาย   to ใช้กับกริยาที่มีการเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง  ส่วน  at  ใช้กับกริยาที่บอกฐานะหรือสภาพหรือตำแหน่งที่อยู่ของสิ่งนั้นหรือพูดง่ายๆ  ว่าใช้กับกริยาที่อยู่กับที่

  • To and Till
                ( a. ) To
            ผิด  :  We walked till the river and back.
            ถูก  :  We walked to the river and back.
                       เราเดินไปจนถึงแม่น้ำแล้วก็กลับ

                ( b. ) Till
            ผิด  :  I shall stay here to next week.
            ถูก  :  I shall stay here till next week.
                      ผมจะอยู่ที่นี่กระทั่งสัปดาห์หน้า

อธิบาย to ใช้เมื่อพูดถึงระยะทาง till และ until ใช้เมื่อพูดถึงระยะเวลา

  • At and In
               ( a. ) At
            ผิด  :  I spent my holiday in the beach.
            ถูก  :  I spent my holiday at the beach.
                      ผมใช้เวลาวันหยุดที่ชายหาด

               ( b. ) In
            ผิด  :  Eric lives at Miami or at Minnesota.
            ถูก  :  Eric lives in Miami or in Minnesota.
                      เอริคอาศัยอยู่ในไมอามี่หรือมินเนโซต้า

อธิบาย in โดยปกติใช้วางหน้าชื่อประเทศ หรือเมืองใหญ่ๆ หรือกล่าวถึงเวลาหนึ่งเวลาใด  ส่วน  at  ใช้วางไว้หน้าเมืองเล็กๆ  หรือ หมู่บ้านหรือพูดถึงระยะทาง

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คาร์บอน ( C ) เจ้าแห่งการแปลงร่าง

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ตรองสิริ  ทองคำใส  ฝ่ามิติล่าธาตุ สุดขอบโลก  บริษัท วี. พริ้นท์      หน้า ๓๘ - ๕๐


เรื่อง คาร์บอน ( C ) เจ้าแห่งการแปลงร่าง

คาร์บอน ( C ) เจ้าแห่งการแปลงร่าง
          เมื่อพูดถึงคาร์บอน  เรามักจะคิดถึงถ่านดำๆ  หรือไม่ก็ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  แต่รู้มั้ยว่าคาร์บอนคือสุดยอดธาตุแห่งการแปลงร่าง  เพราะเกิดสารประกอบอื่นๆ  ที่มีคุณสมบัติหลากหลายได้มากมาย  รวมถึงยังเป็นหนึ่งในธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย


คาร์บอนในร่างกาย
          ในตารางธาตุ  ธาตุคาร์บอนเขียนแทนด้วยอักษรภาษาอังกฤษ คือ  C  มาจากตัวอักษรแรกของคำว่า  Carbon   ในภาษาอังกฤษ  ส่วนเลข  ๖  คือ  เลขอะตอมของธาตุ
          ร่างกายของเราต้องใช้คาร์บอนในทุกกระบวนการทั้งการเจริญเติบโตและดำรงชีวิต  คาร์บอนทำหน้าที่เป็นสารอาหารหลักอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรต  เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าร่างกายมีคาร์บอน  และต้องการธาตุนี้ในปริมาณมาก  คาร์บอนยังมีหน้าที่ในกระบวนการที่ซับซ้อนและสำคัญอื่นๆ  ของร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น  ทำให้เซล์ทำงาน  ให้พลังงานแก่เซลล์  เพื่อให้ทำงานตามหน้าที่ได้  ธาตุหลักๆ  ที่ทำงานร่วมกับคาร์บอนในร่างกาย  คือ  ออกซิเจนกับไฮโดรเจน


เพชรกับไส้ดินสอก็เป็นคาร์บอนเหมือนกัน จริงหรือ ?
          คาร์บอนเปลี่ยนอัญรูป (*อัญรูป allotropy  :  ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปร่างต่างกัน  แต่ถ้าไปทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น  (ต้องเป็นธาตุเดียวกัน)  จะได้สารประกอบเหมือนกัน )  ที่มีคุณสมบัติต่างกันได้หลายอย่าง  อย่างเพชรเป็นอัญมณีราคาแพงกับแกรไฟต์ที่ใช้ทำไส้ดินสอ  ต่างก็เป็นอัญรูปหนึ่งของคาร์บอน
          ด้านนอกสุดของโครงสร้างอะตอมคาร์บอน  มีอิเล็กตรอนอยู่  ๔  ตัว  อิเล็กตรอนพวกนี้เป็นเหมือนมือที่ใช้ยึดจับกับอะตอมอื่น
          โครงสร้างเพชรเป็น  ๓  มิติ   ประกอบจากอะตอมที่มีมือจับกับอะตอมอื่นครบทุกมือ  ทำให้เพชรเป็นแร่ธาตุที่แข็งแกร่งที่สุดในธรรมชาติ
          แต่มือของอะตอมแกรไฟต์เป็นระนาบ  ๒  มิติ  มีแค่  ๓  ใน  ๔  มือเท่านั้นที่จับกับอะตอมอื่น  ทำให้แกรไฟต์เปราะ  แค่เราขูดลงบนกระดาษก็เป็นรอยดำแล้ว  จึงนำไปทำใส้ดินสอ


มีผ้าที่ทำจากคาร์บอนด้วย !
          ท่อคาร์บอนนาโน  ( Carbon  nanotube )  เป็นวัสดุสังเคราะห์  ที่มีโครงสร้างพิเศษเป็นตาข่ายรูปหกเหลี่ยมม้วนตัวเป็นท่อ  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กมาก  เลยดูเหมือนเส้นมากกว่า  แต่แข็งแกร่งกว่าเล็กกล้าในอนุภาคที่เท่ากันประมาณ  ๑๐๐  เท่า   ยืดหยุ่นได้ดี  เพราะความกลวงจึงมีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก
          ท่อคาร์บอนนาโนทำให้เซรามิกแข็งแรงขึ้น  โครงรถมีน้ำหนักเบา  แล้วยังนำมาทำเป็นเส้นใยได้อีกด้วย  เส้นใยมีขนาดเท่าผมมนุษย์  แต่แข็งแรงกว่าเคฟลาร์ (*เคฟลาร์ Kevlar  ชื่อทางการค้าของเส้นใยสังเคราะห์ของบริษัทดูปองต์  แข็งแรงมาก  น้ำหนักเบา  แข็งแรงกว่าเล็กที่หนักเท่ากัน  ๕  เท่า นิยมใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุน  สายเคเบิล ฯลฯ )  ๑๗  เท่า  และแข็งแรงกว่าใยแมงมุม  ๔  เท่า  จึงเหมาะแก่การนำมาทำสายเคเบิลกับสิ่งทอที่ใช้สวมใส่เพื่อปกป้องร่างกาย  (protective  clothing )  เส้นใยที่ทำจากท่อคาร์บอนนาโนสามารถผลิตและเก็บไฟฟ้าได้ด้วย

ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ตรองสิริ  ทองคำใส  ฝ่ามิติล่าธาตุ สุดขอบโลก  บริษัท วี. พริ้นท์      หน้า ๒๒ - ๓๗


เรื่อง ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ


ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ
          วิชาเคมีพื้นฐานที่พัฒนามาจากการเล่นแร่แปลธาตุ  ทำให้ความรู้ทางเคมีเริ่มก้าวหน้า  แต่ตารางธาตุที่เมนเดเลเยฟสร้างขึ้น  ช่วยทำให้เคมีมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดรวดเร็วมากขึ้น


เมนเดเลเยฟ ผู้บุกเบิกวิชาเคมีชาวรัสเซีย
          ดีมีตรี  อีวาโนวิช  เมนเดเลเยฟ  ผู้สร้างตารางธาตุเป็นคนแรก  เขาเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ  แห่งหนึ่งแถบไซบีเรียประเทศรัสเซีย
          หลังจากที่คุณพ่อตาบอด  คุณแม่ของเมนเดเลเยฟก็เปิดโรงงานทำเครื่องแก้ว  ต่อมาคุณพ่อเสียชีวิต  โรงงานของคุณแม่ก็ไฟไหม้  คุณแม่เลยพาเมนเดเลเยฟไปใช้ชีวิตที่เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
           ด้วยการเลี้ยงดูจากคุณแม่  ในที่สุดเมนเดเลเยฟก็ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเคมีในมหาวิทยาลัย  เขาเขียนหนังสือด้านเคมีก่อนสร้างผลงานชื่อก้องโลกอย่างตารางเมื่อปี  ค.ศ. ๑๘๖๙


กว่าจะเป็นตารางธาตุ
          เมนเดเลเยฟได้เขียนหนังสือของเขาถึงขั้นตอนในการสร้างตารางธาตุว่า  "ผมเริ่มค้นหาวิธี แล้วเขียนธาตุแต่ละธาตุพร้อมน้ำหนักอะตอม  และคุณสมบัติของมันธาตุที่คล้ายกันแต่น้ำหนักอะตอมไม่เท่ากันลงบนการ์ดแต่ละใบ  ผลที่ออกมาทำให้ผมแน่ใจว่า  คุณสมบัติของธาตุขึ้นกับน้ำหนักอะตอมของมัน"  ซึ่งเป็นที่มาของตารางนี่เอง


การคาดการณ์ที่แม่นยำ
          ตารางธาตุที่เมนเดเลเยฟค้นพบในปี  ค.ศ. ๑๘๖๙  มีแค่ ๖๓ ธาตุ  เมนเดเลเยฟกล่าวว่า  ช่องที่เขาเว้นว่างไว้  สักวันจะมีคนค้นพบธาตุและเติมมันแน่นอน  ปี  ค.ศ. ๑๘๗๕  นักเคมีชาวฝรั่งเศลก็ค้นพบธาตุแกลเลียม  ซึ่งเป็นหนึ่งในธาตุที่เมนเดเลเยฟเว้นช่องว่างและทำนายไว้  รวมถึงสแกนเดียมที่ค้นพบในปี  ค.ศ. ๑๘๗๙  หรือธาตุเจอร์เมเนียมที่ค้นพบในปี  ค.ศ. ๑๘๘๖  อีกด้วย


ตารางธาตุ
          ตารางธาตุ คือ  ตารางที่แสดงธาตุต่างๆ เรียงลำดับตามน้ำหนักอะตอม  แต่ละช่องจะมีสัญลักษณ์  เลขอะตอม  และน้ำหนักอะตอม  ธาตุที่มีคุณสมบัติคล้ายกันจะอยู่กลุ่มเดียวกันและแสดงด้วยสีเดียวกัน
           ตั้งแต่เมนเดเลเยฟสร้างตารางธาตุ  ปัจจุบันนี้ค้นพบธาตุแล้วทั้งหมด  ๑๑๘  ชนิด  แต่ตั้งชื่อลงบนตารางธาตุ  ๑๑๔  ชนิด

ทำไมเราถึงไม่เจ็บเวลาหยดฝนตกกระทบ

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : องอาจ  ผกามาลยเทพ ชุดอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอน มหัศจรรย์โลกฟิสิกส์  บริษัท วี. พริ้นท์                                หน้า ๕๒ - ๖๕

เรื่อง ทำไมเราถึงไม่เจ็บเวลาหยดฝนตกกระทบ

          หยดฝนที่ร่วงลงมาจากท้องฟ้า จะตกสู่พื้นดินในอัตราเร็วมาก เปรียบได้กับรถยนต์ที่แล่นด้วยความเร็วสูง  แต่หยดฝนไม่ทำให้เราเจ็บเมื่อถูกกระทบเหมือนรถยนต์ แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยสมดุลของแรง
          หยดฝนที่ตกลงมาจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงโน้มถ่วงของโลกส่วนแรงต้านของอากาศก็เพิ่มเท่ากับความเร็วนั้นด้วย  เช่นเดียวกับเวลาที่วิ่งเร็วๆ เราจะรู้สึกว่าอากาศปะทะตัวเราแรงกว่าตอนวิ่งช้า แรงต้านของอากาศที่กระทำต่อหยดฝนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน  แต่พอถึงระยะหนึ่ง แรงโน้มถ่วงและแรงต้านของอากาศที่กระทำต่อหยดฝนจะมีขนาดเท่ากัน ทำให้เกิดสมดุลของแรง อัตราเร็วของเม็ดฝนจึงคงที่จนกระทั่งถึงพื้น  ที่สำคัญเม็ดฝนมีมวลน้อย  เมื่อถูกร่างกายจึงไม่เจ็บ  แต่ถ้าเป็นลูกเห็บ  ซึ่งมีมวลมากกว่าย่อมเจ็บแน่นอน

กีฬาที่เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
          ผู้ค้นพบการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์    หรือการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา  ก็คือ  กาลิเลโอ กาลิเลอี  นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี  เขามีชื่อเสียงจากการยืนยันว่า  ทฤษฎีโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์  ที่โคเพอร์นิคัสแถลงไว้เป็นความจริง
          ลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์  เกิดจากวัตถุมีความเร็ว  ๒  แนวพร้อมกัน  คือแนวดิ่ง  ความเร็วเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ถูกดึงให้ตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก)  และแนวราบความเร็วคงที่
          การเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา  พบได้ในกีฬาหลายประเภท  เช่น  เบสบอล  ทุ่มน้ำหนัก  พุ่งแหลน  สกี  ฯลฯ
          วัตถุต่างๆ จะเคลื่อนที่ในอากาศได้ไกลมากแค่ไหนนั้น  ขึ้นอยู่กับความเร็วต้น  และการทำมุมกับแนวราบ  ดังนั้นนักกีฬาต้องตีหรือโยนลูกบอลให้แรง  และทำมุมให้พอดีจึงจะมีโอกาสชนะ

ทำไมน้ำหนักตัวถึงลดลงเมื่ออยู่บนดวงจันทร์

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : องอาจ  ผกามาลยเทพ ชุดอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอน มหัศจรรย์โลกฟิสิกส์  บริษัท วี. พริ้นท์                                หน้า ๒๔ - ๓๕

เรื่อง ทำไมน้ำหนักตัวถึงลดลงเมื่ออยู่บนดวงจันทร์

          หลายคนที่พยายามลดน้ำหนัก ด้วยวิธีต่างๆนานา แต่ก็ไม่สำเร็จสักที ถ้าลองไปอยู่บนดวงจันทร์ รับรองน้ำหนักจะลดลงเหลือ ๑ ส่วน ๖ ของน้ำหนักเดิม โดยไม่ต้องงดอาหารหรือออกกำลังกายเลย
           สาเหตุที่น้ำหนักตัวบนดวงจันทร์เบากว่าเมื่อชั่งบนพื้นโลก เพราะดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงแค่ ๑ ใน ๖ ของโลก มวลและขนาดที่เล็กของดวงจันทร์ ทำให้มันมีแรงดึงดูดวัตถุน้อยตามไปด้วย ดังนั้นนักบินอวกาศจึงเคลื่อนตัวได้สะดวก แม้จะสวมชุดอวกาศหนักๆ แต่น้ำหนักที่ลดลงก็ส่งผลให้นักบินอวกาศทรตัวลำบาก และไม่กล้ากระโดดสูงด้วย เพราะตัวอาจลอยลิ่วและต้องใช้เวลานานกว่าจะตกกลับสู่พื้นผิว
เดิม

แรงโน้มถ่วง
          แรงโน้มถ่วง คือ แรงดึงดูดระหว่างสสารทุกรูปแบบ ทำให้วัตถุตกลงสู่ศูนย์กลางของโลกยึดดาวเคราะห์ไว้ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดระหว่างวัตถุสองชนิด จะแปรผันตามมวล และแปรผกผันกับระยะทางระหว่างวัตถุยกกำลังสอง  นั่นคือ  ถ้าเพิ่มมวลของวัตถุเป็น ๒ เท่า  แรงดึงดูดจะเพิ่มขึ้น ๒ เท่าด้วย  แต่ถ้าเพิ่มระยะทางระหว่างวัตถุเป็น ๒ เท่า แรงดึงดูดจะลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔
          สำหรับแรงโน้มถ่วงของโลกนั้น  จะมีค่าไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างศูนย์กลางมวลของโลกกับวัตถุ  และเนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง  ทำให้เกิดแรงหนีศูนย์กลาง  ซึ่งจะหักล้างกับแรงโน้มถ่วงของโลก  โดยแรงหนีศูนย์กลางมีค่ามากสุดบริเวณเส้นศูนย์สูตร และมีค่าน้อยสุดบริเวณขั้วโลก
          ดังนั้นแรงโน้มถ่วงของโลกตรงเส้นศูนย์สูตรจึงมีค่าน้อยกว่าบริเวณขั้วโลก ทำให้น้ำหนักตัวที่ขั้วโลกมากกว่าเมื่อชั่งที่เส้นศูนย์สูตร

ตดเป็นเรื่องธรรมชาติ

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ธิติวัส เอกจรรยา ชุดอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอน ตะลุยร่างกายมนุษย์  บริษัท วี. พริ้นท์                                หน้า ๓๔ - ๔๓

เรื่อง ตดเป็นเรื่องธรรมชาติ

ทำไมเราต้องตด ?
         ในทางเดินอาหารของเราอาจมีก๊าซส่วนเกินอยู่ ร่างกายจึงต้องขับก๊าซนี้ออกทางทวารหนัก ซึ่งเรียกว่า ตด ส่วเนสียงตดที่เกิดขึ้นก็มาจากการสั่นสะเทือนของหูรูดทวารหนักนั่นเอง

ทำไมตดถึงมีกลิ่น ? 
          ตดเป็นก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดผสมกัน มีทั้งก๊าซที่ไม่มีกลิ่น คือ ไนโตรเจน คาร์บอรไดออกไซด์ ไฮโดรเจน มีเทน ออกซิเจน และก๊าซที่มีกลิ่นรุนแรง ซึ่งได้แก่ สารประกอบไนโตรเจน เช่น อินโดล และสารประกอบกำมะถัน เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ความเหม็นของตดขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากิน อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ จะทำให้ตดมีกลิ่นเหม็นกว่าอาหารพวกผัก ผลไม้ 

ตดติดไฟได้ด้วยหรือ ?
          ตดประกอบด้วยก๊าซมีเทน และ ไฮโดรเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่ติดไฟได้ ดังนั้นตดจึงติดไฟได้จริง แต่ยังไงก็ห้ามทดลองเรื่องนี้ด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายได้

น้ำย่อยในลำไส้เล็ก
          หลังจากที่มีการย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว อาหารจะถูกส่งมายังลำไส้เล็กและถูกย่อยต่อด้วยน้ำย่อยในลำไส้เล็ก  ซึ่งมีเอนไซม์ย่อยอาหารประเภทต่างๆ ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น คาร์โบไฮเดรตถูกย่อยเป็นกลูโคส โปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน ไขมันถูกย่อยเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล จากนั้นสารอาหารก็ถูกดูดซึมเข้าสู่วิลลัสที่อยู่บริเวณผนังลำไส้เล็ก
          น้ำย่อยในลำไส้เล็กประกอบไปด้วย น้ำย่อยจากตับอ่อน น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก และน้ำดีจากตับ ซึ่งแต่ละอย่างทำหน้าที่ย่อยอาหารต่างกัน
          -  น้ำย่อยจากตับอ่อน  :  สร้างจากตับอ่อนและถูกส่งมาที่ลำไส้เล็กส่วนต้น มีเอนไซม์หลายชนิด เช่น ทริปซิน ย่อยโปรตีน  อะไมเลส ย่อยแป้ง  และไลเพส ย่อยไขมัน
          -  น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก  :  มีเอนไซม์หลายชนิด เช่น มอลเทส ซูเครส แล็กเทส ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ ไดเพปทเดส ย่อยได้เพปไทด์ และไลเพส ย่อยไขมัน
          -  น้ำดี  :  สร้างจากตับ ไม่ใช่เอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหาร แต่มีส่วนช่วยย่อยไขมัน โดยทำให้ไขมันแตกตัว เพื่อให้ไลเพสย่อย


กระดูกเปลี่ยนแปลงตามการเจริญเติบโต จริงหรือ ?

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ธิติวัส เอกจรรยา ชุดอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอน ตะลุยร่างกายมนุษย์  บริษัท วี. พริ้นท์                                หน้า ๘ - ๒๐

เรื่อง กระดูกเปลี่ยนแปลงตามการเจริญเติบโต จริงหรือ ?

เมื่อเราโตขึ้น จำนวนกระดูกจะน้อยลง
          เด็กแรกเกิดจะมีกระดูกมากกว่า ๓๐๐ ชิ้น แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ จำนวนกระดูกจะลดลงเหลือแค่ ๒๐๖ ชิ้น ความจริงกระดูกไม่ได้หายไปไหน แต่เมื่อเราโตขึ้น กระดูกหลายๆชิ้น จะเชื่อมต่อกันเป็นชิ้นเดียว ซึ่งกระดูกจะเชื่อมต่อกันสมบูรณ์เมื่ออายุ ๒๐ - ๒๕ ปี

การเจริญเติบโตของกระดูก
          บริเวณส่วนปลายของกระดูกยาว ( long bone ) เช่น กระดูกนิ้วมือ กระดูกนิ้วเท้า กระดูกแขน กระดูกขา จะมีแผ่นกระดูกอ่อน ที่เรียกว่า แผ่นเอพิไฟซิส ( epiphyseal plate ) ซึ่งจะแบ่งเซลล์เพื่อทำให้กระดูกยาวขึ้น แต่เมื่อร่างกายเติบโตเต็มที่ แผ่นเอพิไฟซิสจะเปลี่ยนเป็นกระดูกแข็ง และหยุดการเจริญเติบโต ถ้าลองเอกซเรย์กระดูกก็จะเห็นส่วนต่างๆ และเจริญเติบโตได้ชัดเจน

ถ้าอยากมีกล้ามต้องทำยังไง ?
          การมีรูปร่างสมส่วน มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ เป็นความใฝ่ฝันของผู้ชายส่วนใหญ่ วิธีที่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่และแข็งแรงมี ดังนี้
   ๑. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในระยะเวลาที่พอเหมาะ ไม่ควรออกกำลังมากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อไม่เจริญเติบโตได้ ดังนั้นควรเว้นระยะให้กล้ามเนื้อได้มีเวลาพักบ้าง
   ๒. เลือกออกกำลังกายที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงต้าน มีการหดและคลายตัว เช่น การยกน้ำหนัก
   ๓. การยกน้ำหนัก ควรเลือกน้ำหนักให้พอเหมาะ โดยเริ่มจากน้ำหนักน้อย แล้วค่อยๆ ปรับเพิ่ม เพื่อให้กล้ามเนื้อ มีความแข็งแรงและทนทานขึ้นเป็นลำดับ
   ๔. กินอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย เพราะโปรตีนเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะ ร่างกายต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียจากการเผาผลาญโปรตีน
   ๕. นอนหลับให้เพียงพอ เพราะ เวลาหลับร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกมา เพื่อเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันที่ ๒๒ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ศิวพล  ชมภูพันธุ์ สรุปสังคม ม.ปลาย  พิมพ์ครั้งที่ ๑๒  ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี
           หน้า ๓๓ - ๔๒

เรื่อง ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันมี ๑๑ ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ ติมอร์ - เลสเต
  • สมัยโบราณ อินเดียเรียกดินแดนนี้ว่า "สุวรรณภูมิ" จีนเรียก "จินหลิน" เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และภาษา
  • กลุ่มชาติพันธุ์ขอมและมอญ เป็นอารยธรรมดั้งเดิมก่อนการเข้ามาของชาติพันธุ์อื่น
  • ดินแดนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียยกเว้น เวียดนาม ที่ได้รับจีนมาเต็มๆ และ ฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก เพราะเคยเป็นเมืองขึ้นของสเปนและอเมริกา
  • สมัยก่อน ภูมิภาคนี้รุ่งเรืองมาก เพราะเป็น แหล่งเครื่องเทศ โปรตุเกสเลยเข้ามา ฝรั่งชาติอื่นๆเลยเข้ามาตามแล้วยึดเป็นเมืองขึ้นเกือบหมด ยกเว้น ไทย
  • อาณานิคมของอังกฤษได้แก่ พม่า มลายู (ตอนนั้นยังไม่เป็นมาเลเซีย ต่อมาจะแยกเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์) ส่วนฝรั่งเศลมายึดครองอินโดจีน นั่นก็คือ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ส่วนเนเธอแลนด์ก็ได้อินโดนนีเซียเป็นเมืองขึ้น ฟิลิปปินส์ก็เสร็จอเมริกา
  • ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขบวนการชาตินิยมต่อต้านฝรั่ง เรียกร้องเอกราช เกิด ฮีโร่ เด่นๆ เช่น โฮจิมินห์ของเวียดนาม อู อองซานของพม่า (คุณพ่อของออน ซาน ซูจี) ซูการ์โนของอินโดนีเซีย เป็นต้น
  • เดี๋ยวนี้บางประเทศยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อย ต่างชาติพันธุ์ ต่างศาสนา เช่น พม่า (ต้องต่อสู้กับชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก) อินโดนีเซีย(อาเจาะห์+อิเรียนจายา) ฟิลิปปินส์(มีอาบูไซยาฟ+โมโร)

ระบบศักดินา

วันที่ ๒๒ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ศิวพล  ชมภูพันธุ์ สรุปสังคม ม.ปลาย  พิมพ์ครั้งที่ ๑๒  ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี
           หน้า ๑ - ๑๐

เรื่อง ระบบศักดินา

ระบบศักดินา ภาษาโบราณ เรียกว่า "พระไอยการตำแน่งนาพลเรือน และ พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง" เป็นเครื่องมือจัดระเบียบสังคมโบราณ มีไว้แบ่งชนชั้น สิทธิ หน้าที่ ระบบศักดินาของไทยสามารถเปลี่ยนชนชั้นได้
                    พระมหากษัตริย์ไม่มีศักดินา เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งศักดินาทั้งปวง
ชนชั้นในระบบศักดินา
  • พระมหากษัตริย์
  • พระบรมวงศานุวงศ์ หรือ เจ้านาย มหาอุปราชหรือวังหน้าเป็นผู้ที่มีศักดินาสูงที่สุด
  • ขุนนาง มีหน้าที่รับราชการ บังคับบัญชากรมกอง คุมไพร่พลในสังกัด มีเครื่องประกอบคือ ยศ ราชทินนาม ตำแหน่งและศักดินา
  • พระสงฆ์ เป็นชนชั้นพิเศษ ที่ทุกชนชั้นกราบไหว้บูชา มีศักดินาด้วย
  • ไพร่ ก็คือ ประชาชนชายหญิงของสังคม มีจำนวนมากที่สุดมี ๓ ประเภท คือ  
                    - ไพร่หลวง ขึ้นตรงต่อหลวง มีหน้าที่รับราชการเข้าเวรปีละ ๖ เดือน (เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน)
                    - ไพร่สม เป็นไพร่ในสังกัดของเจ้านายหรือขุนนาง
                    - ไพร่ส่วย ไพร่แบบนี้ บ้านอยู่ไกลไม่สามารถเข้าเวรได้ เลยส่งสิ่งของหรือส่วยมาแทนการเกณฑ์แรงงาน
" ตามกฏหมาย ไพร่จะต้องมีมูลนายสังกัด มิฉะนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครอง " 
 "ไพร่"  มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์สังคม เพราะถือว่าเป็นเรื่องของประชาชนทั่วไป เป็นแรงงานของรัฐ เป็นขุมกำลังของมูลนาย ใครมีไพร่มาก ก็แสดงว่ามีอำนาจบารมีมาก

  • ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม มีนายเงินเป็นเจ้าของ (เหมือนสินค้าเลย) นายเงินมีสิทธิในตัวทาสทุกประการ ยกเว้นทำให้ตาย
ทาสมี ๗ ประเภท คือ ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่ได้มาแต่บิดามารดา ทาสท่านให้ ทาสที่ช่วยเหลือมาจากโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงไว้ยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย (เป็นทาสประเภทเดียวที่ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้)

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมบัติของธาตุและสารประกอบ

วันที่ ๑๕ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : สถาบันกวนวิชาติวเตอร์พ้อยท์ สรุปเคมีมัธยมปลาย พิมพ์ครั้งที่ ๑๒  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา
           หน้า ๕๔ - ๖๖

เรื่อง สมับติของธาตุและสารประกอบ

          ธาตุกัมมันตรังสี
๑. แรงนิวเคลียร์เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโปรตอนกับโปรตอน หรือ โปรตอนกับนิวตรอน หรือ นิวตรอนกับนิวตรอน
๒. ธาตุที่เสถียร คือ ธาตุที่มีแรงนิวเคลียร์ มากกว่า แรงผลักระหว่างโปรตอนในนิวเคลียส
๓. ธาตุที่มีจำนวนโปรตอนมากขึ้น จะต้องการนิวตรอนจำนวนมากขึ้นด้วย เพื่อเสริมแรงดึงดูดให้เกิดเสถียรภาพในนิวเคลียสดีขึ้น
๔. ธาตุที่มีเลขอะตอม๘๓ ขึ้นไปจะเป็นธาตุกัมมันตรังสี ทั้งนี้เนื่องจากมีสัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อนิวตรอนมากเกินไปทำให้นิวเคลียสไม่เสถียร จึงมีการคายพลังงานออกมาในรูปของกัมมันตภาพรังสี
๕. พลังงานส่วนเกินที่นิวเคลียสของธาตุถ่ายเทออกมาจะอยู่ในรูปของอนุภาคหรือ รังสีต่างๆ เช่น บีตา , แอลฟา , แกมมา

          ลักษณะเด่นของรังสี
๑. รังสีแอลฟา หนักที่สุด แต่ทะลุทะลวงได้น้อยที่สุด
๒. รังสีบีตา คือลำอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีพลังงาน
๓. รังสีโพซิตรอน คือ อนุภาคที่มีประจุบวก แต่มีมวลเท่ากับมวลอิเล็กตรอน
๔. รังสีแกมมา เป็นรังสีเดียวที่มีสภาพเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ใช่อนุภาค จึงไม่มีมล และสนามทะลุทะลวงได้สูงสุด

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พันธะโคเวเลนต์

วันที่ ๑๕ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : สถาบันกวนวิชาติวเตอร์พ้อยท์ สรุปเคมีมัธยมปลาย พิมพ์ครั้งที่ ๑๒  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา
           หน้า ๒๖ - ๔๗

เรื่อง พันธะโคเวเลนต์

          พันธะโคเวเลนต์
๑. ธาตุคู่พันธะ  เกิดจากการเข้าทำพันธะของธาตุอโลหะ และธาตุอโลหะ (อโลหะ + อโลหะ)
๒. สารประกอบที่ได้  เรียกว่า  "สารประกอบโคเวเลนต์"
๓. การใช้งานอิเล็กตรอน  เกิดจากอะตอมของธาตุอโลหะพยายามจะทำให้ตัวเองมีอิเล็กตรอนครบแปด  จึงไปขอใช้งานอิเล็กตรอนกับธาตุอโลหะอะตอมอื่น (อาจเป็นธาตุเดียวกันหรือต่างกันก็ได้) โดยการที่จะไปขอใช้งานนั้นต้องนำอิเล็กตรอนไปแลกด้วย จึงเกิดกลุ่มอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งที่มีการใช้งานร่วมกันของอะตอมอโลหะทั้งสองอะตอม เรียกว่า "พันธะโคเวเลนต์"
๔. สูตรสารประกอบ  ธาตุคู่พันธะหนึ่งๆ สามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์ได้หลายแบบ (พันธะเดี่ยว, พันธะคู่, พันธะสาม) ดังนั้น สารประกอบโคเวเลนต์จึงไม่มีสูตรสารประกอบที่แน่นอน
๕. ค่า EN ต่างกันน้อย จนถึงไม่ต่างกันเลย (เกิดกับพันธะโคเวเลนต์ที่ธาตุเดียวกันทำพันธะกัน)
๖. ความแข็งแรงของพันธะ พันธะโคเวเลนต์มีความแข็งแรงน้อยกว่าพันธะโลหะและพันธะไอออนิก เพราะไม่ได้เกิดจากไอออนบวกและลบดึงดูดกันอย่างชัดเจน แต่เกิดจากนิวเคลียสของธาตุคู่พันธะดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
๗. ลักษณะของสารประกอบ สารประกอบโคเวเลนต์มีได้ทั้ง ๓ สถานะที่ RTP (Room Temperature and Pressure) ไม่นำไฟฟ้าทั้งสภาพของแข็งและของเหลว จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนสถานะเป็นการทำลายแรงระหว่างโมเลกุล ไม่ได้ทำลายพันธะโคเวเลนต์
๘. หน่อยที่เล็กที่สุดของสารประกอบโคเวเลนต์ คือ โมเลกุล

          รูปทรงโมเลกุลโคเวเลนต์
๑. ปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปทรงโมเลกุล
     - อะตอมกลาง
     - อะตอมที่ล้อมรอบอะตอมกลาง
     - อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลาง
๒. แรงผลักที่เกิดขึ้นในโมเลกุล
     - แรงผลักระหว่างพันธะกับพันธะ
     - แรงผลักระหว่างพันธะอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
     - แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
๓. ความแรงของแรงผลักที่เกิดขึ้น
     - อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว > อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับพันธะ > พันธะกับพันธะ
๔. แนวทางการทำนายรูปทรงโมเลกุล
     - พิจารณาจำนวนอะตอมที่มาล้อมรอบอะตอมกลาง
     - พิจารณาจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง

ลักษณะของสำนวน

วันที่ ๑๕ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏนครสวรรค์
          การพัฒนาทักษะภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ ๕  ห้างหุ้นส่วนจำกัดริมปิงการพิมพ์  หน้า ๗๗ - ๙๐

เรื่อง ลักษณะของสำนวน

๑. มีการใช้ถ้อยคำที่สละสลวย  กินความหมายแทนคำพูดธรรมดา เช่น
          ร่วมหัวจมท้าย   หมายถึง  ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน,  ร่วมมือกัน
          ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว   หมายถึง  ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเรือน
          ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน   หมายถึง  ทำให้อะไรให้ตามใจผู้ที่เป็นเจ้าของ
๒. มีความหมายสัมผัสคล้องจอง  อาจคล้องจองกันในข้อความตอนเดียว หรือระหว่างความหลายตอน  เช่น
          ผีซ้ำด้ำพลอย   หมายถึง  ถูกซ้ำเตอมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือเมื่อถึงคราวเคราะห์ร้อย
          เห็นขี้ดีกว่าไส้   หมายถึง  เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้อง
          รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี   หมายถึง  รักลูกต้องคอยว่ากล่าวตักเตือนให้เป็นคนดีเสมอๆ
๓. มีความหมายโดยนัย  คือ  พูดอย่างหนึ่ง แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
          กินปูนร้อนท้อง   หมายถึง  รู้สึกเดือดร้อน เพราะรู้ตัวว่ามีความผิดอยู่
          ขนทรายเข้าวัด   หมายถึง  ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ หรือหาประโยชน์ให้ส่วนรวม
          ปีนเกลียว   หมายถึง  มีความเห็นไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน
๔. มีการใช้ถ้อยคำแผลงแปลกๆ ตลก  หรือ เปรียบเปรยความ เช่น
          ปอดลอย   หมายถึง  กลัวมาก
          ขี้เถ้ากลบเพชร   หมายถึง  ของเลวห่อหุ้มของดีไว้
          พะเนินเทินทึก   หมายถึง  มากมายก่ายกอง
๕. มีประวัติที่มา  อาจจะมาจากการเปรียบกับกิริยาอาการของคน สัตว์ ธรรมชาติ หรือที่มาจากนิยาย นิทาน เป็นต้น เช่น
          งงเป็นไก่ตาแตก   หมายถึง  งงจนทำอะไรไม่ถูก  เหมือนไก่ถูกคู่ต่อสู้ตีจนตาแตก
          ลูกทรพี   หมายถึง  ลูกเนรคุณ
          ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง   หมายถึง  พูดว่าแต่คนอื่นไม่ควรทำอย่างนั้น  แต่ตัวเองทำได้

ประเภทของภาษา

วันที่ ๑๕ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏนครสวรรค์
          การพัฒนาทักษะภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ ๕  ห้างหุ้นส่วนจำกัดริมปิงการพิมพ์  หน้า ๑ - ๑๐

เรื่อง  ประเภทของภาษา

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ภาษา" นั้นโดยทั่วไปมักจะหมายถึงตัวสื่อ (รูปสัญญาณ) ที่ใช้ในการส่งสาร (บางคนเรียกว่าการก่อรูปของสัญญสณ) การจัดประเภทของสื่อนั้นอาจแตกต่างกันได้หลายแบบตามความคิดของแต่ละคน แต่โดยส่วนใหญ่มักแบ่งสื่อหรือแบ่งภาษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ สื่อที่มีความเป็นวัจนะกับสื่อที่ไม่มีความเป็น วัจนะหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ "วัจนภาษา" กับ "อวัจนภาษา"
          ๑. อวัจนภาษา
                    การแบ่งอวัจนภาษาแตกต่างกันตามความคิดของแต่ละคน เช่น บางคนแบ่งเป็นสื่อบุคคล สื่อสัญลักษณ์ สื่อทางวัฒนธรรม สื่อพื้นบ้าน สื่อทัศนศิลป์ (นภาลัย  อัจฉริยะกุลและรุ่งนภา  พิตรปรีชา, ๒๕๒๙  หน้า ๓๔๒ - ๓๔๘) แต่นักการสื่อสารบางคนแบ่งอวัจนะภาษาออกเป็น ๗ ประเภท คือ กาลภาษา (chonemics) เทศภาษา (proxemics) เนตรภาษา (oculesics) สัมผัสภาษา (haptics) อาการภาษา (kinesics) วัตถุภาษา (objectics) ปริภาษา (vacalics หรือ paralanguage)
                    ๑.๑  กาลภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้เวลาเป็นเครื่องแสดงเจตนาหรือบุคลิกลักษณะของผู้ส่งสาร  เช่น การตรงต่อเวลา  การผิดเวลา
                    ๑.๒  เทศภาษา หมายถึง ภาษาที่ปรากฏจากการใช้สถานที่หรือระยะทางเป็นเครื่องมือ สื่อสาร เช่น ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่กว้างขวางโอ่อ่าย่อมแสดงถึงความร่ำรวย ยศศักดิ์ ฯลฯ มากกว่าผู้ที่อยู่ในที่คับแคบซ่อมซ่อ หรือคู่สนทนาที่อยู่ใกล้ชิดกันย่อมแสดงว่ามีความสนิทสนมกันมากกว่าคู่ที่อยู่ห่างกัน
                    ๑.๓  เนตรภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้ดวงตาหรือสายตาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เช่น การจ้องตาคู่สนทนาตลอดเวลา เพื่อแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น
                    ๑.๔  สัมผัสภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้การสัมผัสเป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การโอบกอดเพื่อแสดงความรัก ความเอ็นดู การผลักหน้าอกเพื่อแสดงความเป็นศัตรู
                    ๑.๕  อาการภาษา หมายถึง ภาษาในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการสื่อสาร เช่น การคำนับเพื่อแสดงความเคารพ การสั่นศีรษะเพื่อแสดงการปฏิเสธ
                    ๑.๖  วัตถุภาษา หมายถึง ภาษาที่ได้จากเลือกหรือการใช้วัสดุ เพื่อแสดงความหมายบางประการให้ปรากฏ  เช่น  การแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย  เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติสถานที่หรืองานที่ไปร่วม เป็นต้น
                    ๑.๗  ปริภาษา หมายถึง สิ่งที่แนบเนื่องกับภาษาพูดและภาษาเขียน  ปริภาษาของภาษาพูดได้แก่ ความดัง ความค่อย ความเร็ว ความช้า ความสูงความต่ำของเสียง และอื่นๆ เพื่อแส้งเจตนา อารมณ์ เพศ วัย หรือ ภูมิหลังบางประการของผู้ส่งสาร
         ๒.  วัจนภาษา
                    วัจนภาษา หมายถึง ภาษาที่อยู่ในรูปสัญญาณของถ้อยคำ  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท  ได้แก่ ภาษาพูด(spoken language) และภาษาเขียน (written language)
                    ๒.๑  ภาษาพูด คือ การใช้เสียงที่เปล่งออกมาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย กล่าวคือ ผู้ส่งสารจะเปลี่ยนสารที่จะส่งเป็นเสียงที่สังคมตกลงกัน แล้วเปล่งออกมา ผู้รับสารรับเสียงด้วยหู แปลเสียงเป็นความหมาย
                    ๒.๒  ภาษาเขียน คือ การฝช้ตัวอักษรหรือเครื่องหมายเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร  ภาษาประเภทนี้หมายรวมทั้งการสื่อสารที่ใช้ระบบการเขียนแบบปกติของภาษาโดยทั่วไป และระบบการเขียนที่เป็นกรณีพิเศษด้วย  เช่น  ชวเลข ภาษาเขียนนี้ผู้ส่งเปลี่ยนสารเป็นตัวอักษร  ผู้รับสารรับรู้ด้วยตา  แปลอักษรเป็นความหมาย