วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ระบบศักดินา

วันที่ ๒๒ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ศิวพล  ชมภูพันธุ์ สรุปสังคม ม.ปลาย  พิมพ์ครั้งที่ ๑๒  ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี
           หน้า ๑ - ๑๐

เรื่อง ระบบศักดินา

ระบบศักดินา ภาษาโบราณ เรียกว่า "พระไอยการตำแน่งนาพลเรือน และ พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง" เป็นเครื่องมือจัดระเบียบสังคมโบราณ มีไว้แบ่งชนชั้น สิทธิ หน้าที่ ระบบศักดินาของไทยสามารถเปลี่ยนชนชั้นได้
                    พระมหากษัตริย์ไม่มีศักดินา เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งศักดินาทั้งปวง
ชนชั้นในระบบศักดินา
  • พระมหากษัตริย์
  • พระบรมวงศานุวงศ์ หรือ เจ้านาย มหาอุปราชหรือวังหน้าเป็นผู้ที่มีศักดินาสูงที่สุด
  • ขุนนาง มีหน้าที่รับราชการ บังคับบัญชากรมกอง คุมไพร่พลในสังกัด มีเครื่องประกอบคือ ยศ ราชทินนาม ตำแหน่งและศักดินา
  • พระสงฆ์ เป็นชนชั้นพิเศษ ที่ทุกชนชั้นกราบไหว้บูชา มีศักดินาด้วย
  • ไพร่ ก็คือ ประชาชนชายหญิงของสังคม มีจำนวนมากที่สุดมี ๓ ประเภท คือ  
                    - ไพร่หลวง ขึ้นตรงต่อหลวง มีหน้าที่รับราชการเข้าเวรปีละ ๖ เดือน (เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน)
                    - ไพร่สม เป็นไพร่ในสังกัดของเจ้านายหรือขุนนาง
                    - ไพร่ส่วย ไพร่แบบนี้ บ้านอยู่ไกลไม่สามารถเข้าเวรได้ เลยส่งสิ่งของหรือส่วยมาแทนการเกณฑ์แรงงาน
" ตามกฏหมาย ไพร่จะต้องมีมูลนายสังกัด มิฉะนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครอง " 
 "ไพร่"  มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์สังคม เพราะถือว่าเป็นเรื่องของประชาชนทั่วไป เป็นแรงงานของรัฐ เป็นขุมกำลังของมูลนาย ใครมีไพร่มาก ก็แสดงว่ามีอำนาจบารมีมาก

  • ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม มีนายเงินเป็นเจ้าของ (เหมือนสินค้าเลย) นายเงินมีสิทธิในตัวทาสทุกประการ ยกเว้นทำให้ตาย
ทาสมี ๗ ประเภท คือ ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่ได้มาแต่บิดามารดา ทาสท่านให้ ทาสที่ช่วยเหลือมาจากโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงไว้ยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย (เป็นทาสประเภทเดียวที่ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น