วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พันธะโคเวเลนต์

วันที่ ๑๕ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : สถาบันกวนวิชาติวเตอร์พ้อยท์ สรุปเคมีมัธยมปลาย พิมพ์ครั้งที่ ๑๒  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา
           หน้า ๒๖ - ๔๗

เรื่อง พันธะโคเวเลนต์

          พันธะโคเวเลนต์
๑. ธาตุคู่พันธะ  เกิดจากการเข้าทำพันธะของธาตุอโลหะ และธาตุอโลหะ (อโลหะ + อโลหะ)
๒. สารประกอบที่ได้  เรียกว่า  "สารประกอบโคเวเลนต์"
๓. การใช้งานอิเล็กตรอน  เกิดจากอะตอมของธาตุอโลหะพยายามจะทำให้ตัวเองมีอิเล็กตรอนครบแปด  จึงไปขอใช้งานอิเล็กตรอนกับธาตุอโลหะอะตอมอื่น (อาจเป็นธาตุเดียวกันหรือต่างกันก็ได้) โดยการที่จะไปขอใช้งานนั้นต้องนำอิเล็กตรอนไปแลกด้วย จึงเกิดกลุ่มอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งที่มีการใช้งานร่วมกันของอะตอมอโลหะทั้งสองอะตอม เรียกว่า "พันธะโคเวเลนต์"
๔. สูตรสารประกอบ  ธาตุคู่พันธะหนึ่งๆ สามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์ได้หลายแบบ (พันธะเดี่ยว, พันธะคู่, พันธะสาม) ดังนั้น สารประกอบโคเวเลนต์จึงไม่มีสูตรสารประกอบที่แน่นอน
๕. ค่า EN ต่างกันน้อย จนถึงไม่ต่างกันเลย (เกิดกับพันธะโคเวเลนต์ที่ธาตุเดียวกันทำพันธะกัน)
๖. ความแข็งแรงของพันธะ พันธะโคเวเลนต์มีความแข็งแรงน้อยกว่าพันธะโลหะและพันธะไอออนิก เพราะไม่ได้เกิดจากไอออนบวกและลบดึงดูดกันอย่างชัดเจน แต่เกิดจากนิวเคลียสของธาตุคู่พันธะดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
๗. ลักษณะของสารประกอบ สารประกอบโคเวเลนต์มีได้ทั้ง ๓ สถานะที่ RTP (Room Temperature and Pressure) ไม่นำไฟฟ้าทั้งสภาพของแข็งและของเหลว จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนสถานะเป็นการทำลายแรงระหว่างโมเลกุล ไม่ได้ทำลายพันธะโคเวเลนต์
๘. หน่อยที่เล็กที่สุดของสารประกอบโคเวเลนต์ คือ โมเลกุล

          รูปทรงโมเลกุลโคเวเลนต์
๑. ปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปทรงโมเลกุล
     - อะตอมกลาง
     - อะตอมที่ล้อมรอบอะตอมกลาง
     - อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลาง
๒. แรงผลักที่เกิดขึ้นในโมเลกุล
     - แรงผลักระหว่างพันธะกับพันธะ
     - แรงผลักระหว่างพันธะอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
     - แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
๓. ความแรงของแรงผลักที่เกิดขึ้น
     - อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว > อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับพันธะ > พันธะกับพันธะ
๔. แนวทางการทำนายรูปทรงโมเลกุล
     - พิจารณาจำนวนอะตอมที่มาล้อมรอบอะตอมกลาง
     - พิจารณาจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น