วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของภาษา

วันที่ ๑๕ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏนครสวรรค์
          การพัฒนาทักษะภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ ๕  ห้างหุ้นส่วนจำกัดริมปิงการพิมพ์  หน้า ๑ - ๑๐

เรื่อง  ประเภทของภาษา

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ภาษา" นั้นโดยทั่วไปมักจะหมายถึงตัวสื่อ (รูปสัญญาณ) ที่ใช้ในการส่งสาร (บางคนเรียกว่าการก่อรูปของสัญญสณ) การจัดประเภทของสื่อนั้นอาจแตกต่างกันได้หลายแบบตามความคิดของแต่ละคน แต่โดยส่วนใหญ่มักแบ่งสื่อหรือแบ่งภาษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ สื่อที่มีความเป็นวัจนะกับสื่อที่ไม่มีความเป็น วัจนะหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ "วัจนภาษา" กับ "อวัจนภาษา"
          ๑. อวัจนภาษา
                    การแบ่งอวัจนภาษาแตกต่างกันตามความคิดของแต่ละคน เช่น บางคนแบ่งเป็นสื่อบุคคล สื่อสัญลักษณ์ สื่อทางวัฒนธรรม สื่อพื้นบ้าน สื่อทัศนศิลป์ (นภาลัย  อัจฉริยะกุลและรุ่งนภา  พิตรปรีชา, ๒๕๒๙  หน้า ๓๔๒ - ๓๔๘) แต่นักการสื่อสารบางคนแบ่งอวัจนะภาษาออกเป็น ๗ ประเภท คือ กาลภาษา (chonemics) เทศภาษา (proxemics) เนตรภาษา (oculesics) สัมผัสภาษา (haptics) อาการภาษา (kinesics) วัตถุภาษา (objectics) ปริภาษา (vacalics หรือ paralanguage)
                    ๑.๑  กาลภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้เวลาเป็นเครื่องแสดงเจตนาหรือบุคลิกลักษณะของผู้ส่งสาร  เช่น การตรงต่อเวลา  การผิดเวลา
                    ๑.๒  เทศภาษา หมายถึง ภาษาที่ปรากฏจากการใช้สถานที่หรือระยะทางเป็นเครื่องมือ สื่อสาร เช่น ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่กว้างขวางโอ่อ่าย่อมแสดงถึงความร่ำรวย ยศศักดิ์ ฯลฯ มากกว่าผู้ที่อยู่ในที่คับแคบซ่อมซ่อ หรือคู่สนทนาที่อยู่ใกล้ชิดกันย่อมแสดงว่ามีความสนิทสนมกันมากกว่าคู่ที่อยู่ห่างกัน
                    ๑.๓  เนตรภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้ดวงตาหรือสายตาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เช่น การจ้องตาคู่สนทนาตลอดเวลา เพื่อแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น
                    ๑.๔  สัมผัสภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้การสัมผัสเป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การโอบกอดเพื่อแสดงความรัก ความเอ็นดู การผลักหน้าอกเพื่อแสดงความเป็นศัตรู
                    ๑.๕  อาการภาษา หมายถึง ภาษาในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการสื่อสาร เช่น การคำนับเพื่อแสดงความเคารพ การสั่นศีรษะเพื่อแสดงการปฏิเสธ
                    ๑.๖  วัตถุภาษา หมายถึง ภาษาที่ได้จากเลือกหรือการใช้วัสดุ เพื่อแสดงความหมายบางประการให้ปรากฏ  เช่น  การแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย  เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติสถานที่หรืองานที่ไปร่วม เป็นต้น
                    ๑.๗  ปริภาษา หมายถึง สิ่งที่แนบเนื่องกับภาษาพูดและภาษาเขียน  ปริภาษาของภาษาพูดได้แก่ ความดัง ความค่อย ความเร็ว ความช้า ความสูงความต่ำของเสียง และอื่นๆ เพื่อแส้งเจตนา อารมณ์ เพศ วัย หรือ ภูมิหลังบางประการของผู้ส่งสาร
         ๒.  วัจนภาษา
                    วัจนภาษา หมายถึง ภาษาที่อยู่ในรูปสัญญาณของถ้อยคำ  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท  ได้แก่ ภาษาพูด(spoken language) และภาษาเขียน (written language)
                    ๒.๑  ภาษาพูด คือ การใช้เสียงที่เปล่งออกมาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย กล่าวคือ ผู้ส่งสารจะเปลี่ยนสารที่จะส่งเป็นเสียงที่สังคมตกลงกัน แล้วเปล่งออกมา ผู้รับสารรับเสียงด้วยหู แปลเสียงเป็นความหมาย
                    ๒.๒  ภาษาเขียน คือ การฝช้ตัวอักษรหรือเครื่องหมายเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร  ภาษาประเภทนี้หมายรวมทั้งการสื่อสารที่ใช้ระบบการเขียนแบบปกติของภาษาโดยทั่วไป และระบบการเขียนที่เป็นกรณีพิเศษด้วย  เช่น  ชวเลข ภาษาเขียนนี้ผู้ส่งเปลี่ยนสารเป็นตัวอักษร  ผู้รับสารรับรู้ด้วยตา  แปลอักษรเป็นความหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น