วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ตดเป็นเรื่องธรรมชาติ

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ธิติวัส เอกจรรยา ชุดอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอน ตะลุยร่างกายมนุษย์  บริษัท วี. พริ้นท์                                หน้า ๓๔ - ๔๓

เรื่อง ตดเป็นเรื่องธรรมชาติ

ทำไมเราต้องตด ?
         ในทางเดินอาหารของเราอาจมีก๊าซส่วนเกินอยู่ ร่างกายจึงต้องขับก๊าซนี้ออกทางทวารหนัก ซึ่งเรียกว่า ตด ส่วเนสียงตดที่เกิดขึ้นก็มาจากการสั่นสะเทือนของหูรูดทวารหนักนั่นเอง

ทำไมตดถึงมีกลิ่น ? 
          ตดเป็นก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดผสมกัน มีทั้งก๊าซที่ไม่มีกลิ่น คือ ไนโตรเจน คาร์บอรไดออกไซด์ ไฮโดรเจน มีเทน ออกซิเจน และก๊าซที่มีกลิ่นรุนแรง ซึ่งได้แก่ สารประกอบไนโตรเจน เช่น อินโดล และสารประกอบกำมะถัน เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ความเหม็นของตดขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากิน อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ จะทำให้ตดมีกลิ่นเหม็นกว่าอาหารพวกผัก ผลไม้ 

ตดติดไฟได้ด้วยหรือ ?
          ตดประกอบด้วยก๊าซมีเทน และ ไฮโดรเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่ติดไฟได้ ดังนั้นตดจึงติดไฟได้จริง แต่ยังไงก็ห้ามทดลองเรื่องนี้ด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายได้

น้ำย่อยในลำไส้เล็ก
          หลังจากที่มีการย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว อาหารจะถูกส่งมายังลำไส้เล็กและถูกย่อยต่อด้วยน้ำย่อยในลำไส้เล็ก  ซึ่งมีเอนไซม์ย่อยอาหารประเภทต่างๆ ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น คาร์โบไฮเดรตถูกย่อยเป็นกลูโคส โปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน ไขมันถูกย่อยเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล จากนั้นสารอาหารก็ถูกดูดซึมเข้าสู่วิลลัสที่อยู่บริเวณผนังลำไส้เล็ก
          น้ำย่อยในลำไส้เล็กประกอบไปด้วย น้ำย่อยจากตับอ่อน น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก และน้ำดีจากตับ ซึ่งแต่ละอย่างทำหน้าที่ย่อยอาหารต่างกัน
          -  น้ำย่อยจากตับอ่อน  :  สร้างจากตับอ่อนและถูกส่งมาที่ลำไส้เล็กส่วนต้น มีเอนไซม์หลายชนิด เช่น ทริปซิน ย่อยโปรตีน  อะไมเลส ย่อยแป้ง  และไลเพส ย่อยไขมัน
          -  น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก  :  มีเอนไซม์หลายชนิด เช่น มอลเทส ซูเครส แล็กเทส ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ ไดเพปทเดส ย่อยได้เพปไทด์ และไลเพส ย่อยไขมัน
          -  น้ำดี  :  สร้างจากตับ ไม่ใช่เอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหาร แต่มีส่วนช่วยย่อยไขมัน โดยทำให้ไขมันแตกตัว เพื่อให้ไลเพสย่อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น