วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การวัดและการแปลความหมายของข้อมูล

วันที่ ๓๑ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ช่วง  ทมทิตชงค์ คู่มือเตรียมสอบ ฟิสิกส์ ม.๔ - ๖ เล่ม ๑  บริษัท ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด
           หน้า ๑ - ๑๐

เรื่อง การวัดและการแปลความหมายของข้อมูล


การวัดและการแปลความหมายของข้อมูล
   -  คนเราทุกคนจะเกี่ยวข้องกับการวัดตลอดเวลา เช่น การัดเวลา (ในการตื่นนอน และการเดินทาง)

  • งานเก็บข้อมูลวิทยาศาสตร์
งานเก็บข้อมูลวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณา
๑. มาตราฐานของเครื่องวัด จะต้องมีมาตราฐานที่ยอมรับกันได้ทั่วไป
๒. เครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาพงานที่จะวัด เช่น ในเตาเผาจานกระเบื้อง ซึ่งอุณภูมิสูงมากจะใช้เทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาวัดอุณหภูมิไม่ได้ ต้องวัดด้วย "ไพโรมิเตอร์" (Pyromete)

  • การแสดงผลการวัด
๑. แสดงด้วยขีดสเกล  เช่น  โวลต์มิเตอร์ทั่วไป  จะมีตัวเลขหลายชุดบนหน้าปัดเียวกันผู้วัดต้องเข้าใจในการเลือกใช้ตัวเลขแต่ละชุด (ซึ่งจะไม่ท่ากัน)
๒. แสดงด้วยตัวเลข แบบนี้จะสะดวกและรวดเร็ว  เพราะอ่านได้ง่ายกว่า

  • การอ่านผลจากเครื่องมือวัด
๑. ต้องอ่านให้ถึงค่าที่ละเอียดที่สุดที่อ่านได้จากสเกล  เช่น  การวัดความกว้างของหนังสือด้วยไม้บรรทัดธรรมดา  จะวัดได้ ๘.๓ เซนติเมตร
๒. ต้องอ่านส่วนที่ประมาณด้วยสวยตาอีก ๑ ตำแหน่ง  เช่น  ความยาวหนังสือในข้อ (๑) มีเศษเกินขีด ๓ มิลลิเมตร ถึงประมาณกลางช่อง เราจะต้องอ่านค่าที่วัดได้เป็น ๘.๓๕

  • การเลือกใช้เครื่องมือวัด
การเลือกใช้เครื่องมือวัดต้องพิจารณาจากสิ่งที่จะวัด  เช่น  วัดความยาวของดินสอหรือแท่งโลหะ  สำหรับงานช่างกลึง ความละเอียดที่ต้องการใช้จะไม่เท่ากัน
๑. งานธรรมดาทั่วไป โดยปกติจะละเอียดถึง ๑ มิลลิเมตร จะวัดด้วยไม้บรรทัดธรรมดา
๒. งานเจียระไน  ปกติจะละเอียดถึง ๐.๑ มิลลิเมตร จะต้องวัดด้วยเวอร์เนียร์
๓. งานกลึงที่ละเอียด จะวัดถึง ๐.๐๑ มิลลิเมตร ต้องใช้ไมโครมิเตอร์

สิ่งที่มีผลต่อความถูกต้องและความผิดพลาดในการวัด
          ๑.  เครื่องมือที่ใช้วัด   จะต้องได้มาตราฐานและเที่ยงตรง  จึงจะวัดได้ถูกต้อง
          ๒.  วิธีการวัด   จะต้องไม่มีผลที่จะไปรบกวนระบบเดิม  คือ  ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงปริมาณที่จะวัด เช่น จะวัดกระแสไฟฟ้าในวงจร  ต้องใช้แแอมมิเตอร์ที่มีความต้านทานต่ำ (ถ้าแอมมิเตอร์มีความต้านทานสูง จะไปเพิ่มความต้านทานในวงจร ทำให้กระแสไฟฟ้าที่จะวัดลดลง  ซึ่งไม่ตรงกับกระแสไฟฟ้าที่ต้องการจะวัด)
          ๓.  ผู้ทำการวัด   ต้องเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการวัด  เช่น  การวัดความดันโลหิต  จะวัดได้ค่อนข้างยาก  และเครื่องมือแต่ละชนิดจะมีการวัดที่แตกต่างกันออกไป  นอกจากนั้นในการทำการวัดจะต้องมีความรอบคอบ  และร่างกายมีสภาพพร้อมจึงจะได้ผลดี
          ๔.  สภาพแวดล้อมขณะทำการวัด   เช่น  การทดลองวัดความสว่างของหลอดไฟดวงหนึ่ง  จะต้องไม่มีแสงสว่างจากแหล่งอื่นมาเกี่ยวข้อง  เพราะจะทำให้เกิดความผิดพลาด
  • การบันทึกข้อมูล
   การบันทึกข้อมูล ปกติจะสังเกตหลายๆ ครั้ง และบันทึกไว้เป็นตาราง เพราะจะนำมาวิเคราะห์ แปลความหมายได้ง่าย
  • การนำเสนอข้อมูล
   การนำเสนอข้อมูลจะทำให้เกิดการเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจน ปกติจะเสนอเป็น
ก. แผนภูมิแท่ง          ข. แผนภูมิวงกลม          ค. แผนภูมิเส้นตรงหรือเส้นกราฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น