วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทำไมเราถึงไม่เจ็บเวลาหยดฝนตกกระทบ

วันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : องอาจ  ผกามาลยเทพ ชุดอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอน มหัศจรรย์โลกฟิสิกส์  บริษัท วี. พริ้นท์                                หน้า ๕๒ - ๖๕

เรื่อง ทำไมเราถึงไม่เจ็บเวลาหยดฝนตกกระทบ

          หยดฝนที่ร่วงลงมาจากท้องฟ้า จะตกสู่พื้นดินในอัตราเร็วมาก เปรียบได้กับรถยนต์ที่แล่นด้วยความเร็วสูง  แต่หยดฝนไม่ทำให้เราเจ็บเมื่อถูกกระทบเหมือนรถยนต์ แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยสมดุลของแรง
          หยดฝนที่ตกลงมาจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงโน้มถ่วงของโลกส่วนแรงต้านของอากาศก็เพิ่มเท่ากับความเร็วนั้นด้วย  เช่นเดียวกับเวลาที่วิ่งเร็วๆ เราจะรู้สึกว่าอากาศปะทะตัวเราแรงกว่าตอนวิ่งช้า แรงต้านของอากาศที่กระทำต่อหยดฝนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน  แต่พอถึงระยะหนึ่ง แรงโน้มถ่วงและแรงต้านของอากาศที่กระทำต่อหยดฝนจะมีขนาดเท่ากัน ทำให้เกิดสมดุลของแรง อัตราเร็วของเม็ดฝนจึงคงที่จนกระทั่งถึงพื้น  ที่สำคัญเม็ดฝนมีมวลน้อย  เมื่อถูกร่างกายจึงไม่เจ็บ  แต่ถ้าเป็นลูกเห็บ  ซึ่งมีมวลมากกว่าย่อมเจ็บแน่นอน

กีฬาที่เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
          ผู้ค้นพบการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์    หรือการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา  ก็คือ  กาลิเลโอ กาลิเลอี  นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี  เขามีชื่อเสียงจากการยืนยันว่า  ทฤษฎีโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์  ที่โคเพอร์นิคัสแถลงไว้เป็นความจริง
          ลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์  เกิดจากวัตถุมีความเร็ว  ๒  แนวพร้อมกัน  คือแนวดิ่ง  ความเร็วเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ถูกดึงให้ตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก)  และแนวราบความเร็วคงที่
          การเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา  พบได้ในกีฬาหลายประเภท  เช่น  เบสบอล  ทุ่มน้ำหนัก  พุ่งแหลน  สกี  ฯลฯ
          วัตถุต่างๆ จะเคลื่อนที่ในอากาศได้ไกลมากแค่ไหนนั้น  ขึ้นอยู่กับความเร็วต้น  และการทำมุมกับแนวราบ  ดังนั้นนักกีฬาต้องตีหรือโยนลูกบอลให้แรง  และทำมุมให้พอดีจึงจะมีโอกาสชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น