วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การเคลื่อนที่ในแนวตรง

วันที่ ๓๑ เดือน ธันวาคม  พ . ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ช่วง  ทมทิตชงค์ คู่มือเตรียมสอบ ฟิสิกส์ ม.๔ - ๖ เล่ม ๑  บริษัท ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด
           หน้า ๔๓ - ๕๒


เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง


เวกเตอร์และสเกลาร์ (Vectors and Scalars)
          ปริมาณบางอย่างเมื่อบอกเฉพาะขนาดจะเข้าใจได้  เช่น  มวล ความยาว เวลา ความหนาแน่น พลังงาน และอุณหภูมิ, ปริมาณพวกนี้  เราอาจจะรวมกันทางพีชคณิตได้ (แต่ต้องให้เป็นชนิดเดียวกัน) ปริมาณใดๆก็ตามที่บอกแต่ขนาดเพียงอย่างเดียวก็มีความหมายชัดเจน  เราเรียกว่า  "ปริมาณสเกลาร์" (Scalar Quantity)
          ปริมาณอีกแบบหนึ่งที่เราต้องบอกทั้ง  ขนาด  และ  ทิดทาง  จึงจะมีความหมายสมบูรณ์  เช่น  การกระจัด  แรง  ความเร็ว  ความเร่ง, โมเมนตัม, สนามไฟฟ้า ปริมาณพวกนี้จัดเป็น  "ปริมาณเวกเตอร์" (Vector Quantity)


เวกเตอร์ในระบบสองมิติ
          การคิดเวกเตอร์ช่วยให้เราเข้าใจวิชาของฟิสิกส์ได้ดี  ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวถึงเวกเตอร์ไว้ในบทนี้  โดยกล่าวเกี่ยวกับเวกเตอร์พื้นฐานหรือเวกเตอร์หนึ่งหน่วย, เวกเตอร์เท่ากันและเวกเตอร์ตรงกันข้าม  ตลอดจนการกระทำของเวกเตอร์เกี่ยวกับการบวกเวกเตอร์  ๒  อัน  และการลบเวกเตอร์ซึ่งเป็นสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของเวกเตอร์  และเนื่องจากเวกเตอร์มีส่วนประกอบตามแนวแกนของระบบพิกัด  โดยเฉพาะในเบื้องต้นนี้คือระบบพิกัดฉาก  จะช่วยให้เราศึกษาเวกเตอร์ได้ง่ายขึ้น  จึงได้กล่าวเกี่ยวกับส่วนประกอบของเวกเตอร์ในระบบของแกน


ปริมาณเวกเตอร์และปริมาณสเกลาร์
          ปริมาณหรือจำนวนมี ๒ ประเภท
๑.  ปริมาณเวกเตอร์ (Vector Quantity)  คือ  ปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง  จึงจะได้ความหมายชัดเจน  เช่น  แรง  น้ำหนัก  ความเร็ว  ความเร่ง  โมเมนตัม  การกระจัด
๒.  ปริมาณสเกลาร์ (Scalar Quantity)  คือ  ปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียวก็เข้าใจได้ความหมายชัดเจน   เช่น  มวลสาร  พื้นที่  ปริมาตร  ความหนาแน่น  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น