ที่มา : จิรัลย์ เจนพาณิชย์ ชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย
พิมพ์ครั้งที่ ๘ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา หน้า ๑ - ๑๓
เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
การจำแนกกล้องจุลทรรศน์
๑. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light microscope) ใช้แสงขาว (visible light) + เลนส์แก้ว มีอากาศในลำกล้อง ได้ภาพเสมือนหัวกลับ ส่องได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กำลังขยายต่ำกว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน คือมากสุดที่ ๑,๐๐๐ เท่า แยกจุดสองจุดที่ห่างกันน้อยที่สุด ๐.๒ ไมโครเมตร
๑.๑ ใช้แสงแบบธรรมดา (compound light microscope) คือที่อยู่ในห้องแล็บทั่วไป เหมาะสำหรับศึกษาโครงสร้างง่ายๆ เช่น ส่องดู chloroplast ของเซลล์สาหร่ายหางกระรอก, เซลล์คุมของใบว่านกาบหอย
๑.๒ ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope) ส่องได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและทึบแสง มองเห็นภาพเป็น ๓ มิติ มีความชัดลึกมากเหมาะสำหรับส่องดูวัตถุที่ตาเปล่ามองเห็นแต่อยากรู้รายละเอียด เช่น ละอองเกสรดอกไม้, eye spot ของพลานาเรีย
๒. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ใช้ลำแสงอิเล็กตรอน + เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า ไม่มีอากาศในลำกล้อง ได้ภาพฉายปรากฏบนจอ ส่องได้เฉพาะสิ่งไม่มีชีวิต กำลังขยายสูงกว่ามาก แยกจุดสองจุดที่ห่างกันน้อยที่สุด ๐.๑ - ๒ ไมโครเมตร
๒.๑ แบบส่องกราด (scanning electron microscope: SEM) ใช้ศึกษาโครงสร้าง 3 มิติ
๒.๒ แบบส่องผ่าน (transmission electron microscope: TEM) ใช้ศึกษาโครงสร้าง ๒ มิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น