วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

แพ้ยา

วันที่ ๙ เดือน มกราคม  พ . ศ. ๒๕๕๙
ที่มา : รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ โรคภูมิแพ้ในเด็ก : สาเหตุและการป้องกัน   พิมพ์ครั้งที่ ๑
           บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด  หน้า ๓๐ - ๓๙


เรื่อง แพ้ยา

พบบ่อยแค่ไหน
          แพ้ยาเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังนิยมรับประทานยารักษาอาการต่างๆ หรือรักษาโรค และมียาใหม่ๆ มากมายหลายชนิด จึงมีโอกาสที่จะแพ้ยาสูงขึ้น ผู้ป่วยที่แพ้อาจจะไม่เคยแพ้ยามาก่อน เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หรือเคยเกิดอาการแพ้ แต่ไม่รุนแรง เช่น เกิดผื่นัคน แต่ภายหลังได้รับยาชนิดเดิมซ้ำ กระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้นจนเกิดอันตายได้

โรคนี้มีอาการอย่างไร
          แพ้ยาแสดงออกที่อวัยวะต่างๆ ได้ทุกส่วน อาการทางผิวหนังเป็นอวัยวะที่พบบ่อยที่สุด เป็นผื่นที่เกิดจากยา อาจแสดงออกในลักษณของโรคผิวหนังแบบต่างๆ เช่น
  • ผื่นลมพิษ เป็นปื้นนูนแดง คัน แต่ละผื่นจะยุบหายไปภายใน ๒๔ ชั่วโมงโดยไม่มีร่องรอยเหลืออยู่ ผื่นเป็นๆหายๆ บางครั้งอาจมีปากหรือหนังตาร่วมด้วย
  • ผื่น maculopapular rash พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาผื่นแพ้ยา เป็นจุดหรือตุ่มแดงๆเล็กๆ ขึ้นทั่วตัว
  • ผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผิวหนังเป็นตุ่มอักเสบหรือปื้นแดงๆหรือเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ ผสมอยู่ในผื่นแดงด้วย เกิดเฉพาะที่ หรือทั่วตัวก็ได้แล้วแต่ยาที่เป็นสาเหตุ มักมีอาการคันมาก
  • ผื่นผิวหนังทั่วตัวแดงลอกเป็นขุย (exfoliative dermatitis) เป็นผื่นแดงทั่วตัว มีขุยลอกออก คัน
  • ผื่นขึ้นที่เดิมทุกครั้งที่ได้รับยานั้น (fixed drug eruptions) เป็นผื่นบวมแดงรูปร่างกลมหรือรี ขอบชัด เวลาหายจะกลายเป็นสีน้ำตาลเทาหรือสีออกม่วง ลักษณะพิเศษของผื่นแพ้ยาชนิดนี้คือเกิดซ้ำที่เดิมทุกครั้งที่ได้รับยาที่เป็นต้นเหตุ
  • ผื่นแบบตุ่มน้ำพอง มีหลายชนิด บางชนิดเป็นทั้งที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เช่น ที่ตา ในปาก ชนิดรุนแรง ผิวหนังและเยื่อบุจะมีเนื้อตายและหลุดออกเป็นรอยแผลถลอกเป็นบริเวณกว้างและรุนแรง ถ้าสงสัยว่ามีผื่นชนิดนี้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
นอกจากผื่นผิวหนังแล้ว ผู้ป่วยอาจมีไข้ มีอาการตามระบบต่างๆ เช่น ปวดท้อง ท้องร่วง อาเจียน หอบเหนื่อย ใจสั่น ช็อก ซึม ชัก ตับหรือไตวายจากผลของยาได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการในระบบอื่นๆ โดยไม่มีผื่นผิวหนังเลยก็ได้


แพ้ยาควรทำอย่างไร 
     ๑.  หลังรับประทานยา ถ้าเกิดอาการผิดปกติ เช่น มีผื่นที่ผิวหนังให้หยุดยาที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุทันที
     ๒.  ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
     ๓.  ถ้าทราบว่าแพ้ยาอะไร ให้จดบันทึกไว้ และหลีกเลี่ยงการใช้ซ้ำ
     ๔.  แจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบว่าแพ้ยาอะไรบ้างทุกครั้งเมื่อเจ็บป่วย หรือจำเป็นต้องได้รับยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น