ที่มา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏนครสวรรค์
การพัฒนาทักษะภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ ๕ ห้างหุ้นส่วนจำกัดริมปิงการพิมพ์ หน้า ๗๗ - ๙๐
เรื่อง ลักษณะของสำนวน
๑. มีการใช้ถ้อยคำที่สละสลวย กินความหมายแทนคำพูดธรรมดา เช่น
ร่วมหัวจมท้าย หมายถึง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ร่วมมือกัน
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเรือน
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน หมายถึง ทำให้อะไรให้ตามใจผู้ที่เป็นเจ้าของ
๒. มีความหมายสัมผัสคล้องจอง อาจคล้องจองกันในข้อความตอนเดียว หรือระหว่างความหลายตอน เช่น
ผีซ้ำด้ำพลอย หมายถึง ถูกซ้ำเตอมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือเมื่อถึงคราวเคราะห์ร้อย
เห็นขี้ดีกว่าไส้ หมายถึง เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้อง
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี หมายถึง รักลูกต้องคอยว่ากล่าวตักเตือนให้เป็นคนดีเสมอๆ
๓. มีความหมายโดยนัย คือ พูดอย่างหนึ่ง แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
กินปูนร้อนท้อง หมายถึง รู้สึกเดือดร้อน เพราะรู้ตัวว่ามีความผิดอยู่
ขนทรายเข้าวัด หมายถึง ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ หรือหาประโยชน์ให้ส่วนรวม
ปีนเกลียว หมายถึง มีความเห็นไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน
๔. มีการใช้ถ้อยคำแผลงแปลกๆ ตลก หรือ เปรียบเปรยความ เช่น
ปอดลอย หมายถึง กลัวมาก
ขี้เถ้ากลบเพชร หมายถึง ของเลวห่อหุ้มของดีไว้
พะเนินเทินทึก หมายถึง มากมายก่ายกอง
๕. มีประวัติที่มา อาจจะมาจากการเปรียบกับกิริยาอาการของคน สัตว์ ธรรมชาติ หรือที่มาจากนิยาย นิทาน เป็นต้น เช่น
งงเป็นไก่ตาแตก หมายถึง งงจนทำอะไรไม่ถูก เหมือนไก่ถูกคู่ต่อสู้ตีจนตาแตก
ลูกทรพี หมายถึง ลูกเนรคุณ
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง หมายถึง พูดว่าแต่คนอื่นไม่ควรทำอย่างนั้น แต่ตัวเองทำได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น